สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
29 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, ชญานิ ศ เอี่ ยมแก้ว, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ภัตตาคารทั่วไป วิธีการดังกล่าวน่าจะมีความเหมาะสมที่จะท� ำสบู่ขึ้นใช้เอง เนื่องจากกากไขมันที่แยกจาก น�้ ำเสียมีปริมาณไม่มากนักไม่สามารถน� ำมาผลิตสบู่ในเชิงอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งสบู่เหลวที่ผลิตได้สามารถ น� ำมาใช้ล้างพื้นท� ำความสะอาดภายในครัวเรือนหรือสถานประกอบการ เช่น ห้องน�้ ำห้องส้วม วิธีการท� ำ สบู่ เริ่มจากเตรียมกากไขมันสะอาด ๑๐๐ กรัม และอุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิ ๔๐-๔๕ องศาเซลเซียสตลอด เวลา น� ำโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ๓๐ กรัม ผสมกับน�้ ำสะอาด ๕๐ มิลลิลิตร (เทโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ลงไปในน�้ ำเท่านั้น ห้ามเทน�้ ำลงไปในโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) ค่อย ๆ เทสารละลายโพแทสเซียมลงในกาก ไขมันที่อุ่นให้ร้อนอยู่ตลอดเวลา และคนตลอดเวลาจนของผสมเปลี่ยนเป็นสีขุ่น โดยไทรเอซิลกลีเซอรอล ในกากไขมันจะท� ำปฏิกิริยากับโพเแทสเซียมไฮดรอกไซด์ได้ กลีเซอรอลและเกลือของกรดไขมัน ที่เรียกว่า สบู่ ( http://foodnetworksolution.com ๒๕๕๕) ซึ่งมีสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิวด้วย หลังจากนั้นให้เติม น�้ ำสะอาด ๗๐๐ มิลลิลิตรลงไป และคนประมาณ ๕-๑๐ นาทีให้ของผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเติมกลิ่น หรือน�้ ำมันหอมระเหย ปิดไฟทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วบรรจุลงขวด (กรมควบคุมมลพิษ ๒๕๕๑ : ๒-๓๒) รูปที่ ๕ ปฏิกิริยา saponification ( http://foodnetworksolution.com ๒๕๕๕) ไทรกลีเซอไรด์ (triglyceride) กลีเซอรอล (glycerol) สบู่ (soap) สบู่หรือเกลือของกรดไขมันสามารถละลายได้ดีทั้งในน�้ ำและไขมัน (amphiphile) โดยลักษณะ โครงสร้างประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ส่วนที่มีขั้ว คือ หมู่ -COO- เป็นส่วนที่ชอบน�้ ำ (hydrophilic) และส่วนที่ไม่มีขั้ว คือ ส่วนของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งไม่ชอบน�้ ำ (hydrophobic) เมื่อละลายในน�้ ำจะรวมตัวกัน โดยหันส่วนที่ชอบน�้ ำไว้ด้านนอก และเก็บส่วนที่ไม่ชอบน�้ ำไว้ด้านในท� ำให้เกิดโครงสร้างที่เรียกว่า micelle ท� ำให้สบู่สามารถละลายน�้ ำได้และสามารถช� ำระคราบไขมันที่ติดอยู่บนภาชนะหรือเสื้อผ้าได้ ( http://www. thaigoodview.com ๒๕๕๕) ท� ำปุ๋ยหมัก กากไขมันที่แยกได้จากน�้ ำเสียในครัวซึ่งมีปริมาณไม่มากนักและมีการปนเปื้อนสิ่งสกปรก อื่น ๆ สูง อาจไม่เหมาะสมที่จะน� ำมาผลิตไบโอดีเซล หรือท� ำสบู่ เพราะจะต้องผ่านกรรมวิธีในการท� ำความ สะอาดก่อนซึ่งไม่คุ้มทุน ดังนั้นการน� ำมาผลิตปุ๋ยหมักอาจมีความเหมาะสมกว่า เพราะกากไขมันที่รวบรวม ได้จากครัวเรือนสามารถน� ำมาหมักปุ๋ยได้เลยโดยไม่ต้องท� ำความสะอาด โดยน� ำกากไขมันมาผสมกับเศษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=