สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
น�้ ำมั นและไขมั นในน�้ ำเสี ยชุมชน 26 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 การย่อยสลายสารอินทรีย์โดยไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ถังกรองไร้อากาศ (anaerobic filter) บ่อพักไร้อากาศ (anaerobic sump tank) และ บ่อหมัก (anaerobic pond) ( http://www.pcd.go.th ๒๕๕๕) การใช้ประโยชน์น�้ ำมันและไขมันของน�้ ำเสีย น�้ ำมันและไขมันที่แยกออกจากน�้ ำเสียโดยวิธีการข้างต้นแล้ว อาจน� ำมาท� ำประโยชน์ได้ เช่น ใช้ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไบโอดีเซล สบู่ และน� ำมาหมักเป็นปุ๋ย เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการก� ำจัด น�้ ำมันและไขมันโดยการน� ำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประหยัด ทรัพยากรธรรมชาติ จัดว่าเป็นการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (sustainable) ไบโอดีเซล (biodiesel) น�้ ำมันเชื้อเพลิงจากพืช เป็นพลังงานทางเลือกที่หลาย ๆ ประเทศรวม ทั้งประเทศไทยก� ำลังให้ความสนใจและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะพลังงานจากปิโตรเลียมส� ำรองมี ปริมาณลดลงและมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจึงสนับสนุนการผลิตไบโอดีเซลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนและ ลดการน� ำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งช่วยบรรเทาภาวะ โลกร้อน (global warming) ไบโอดีเซล คือ เชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากการน� ำน�้ ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ รวมถึงน�้ ำมันพืชหรือสัตว์ ที่ใช้งานแล้วหรือแยกได้จากน�้ ำเสียมาผ่านกระบวนการทางเคมี กระบวนการผลิตไบโอดีเซลเริ่มจากการ น� ำน�้ ำมันพืชหรือสัตว์ใหม่หรือใช้แล้วไปผ่านกระบวนการแทรนส์เอสเทอริฟิเคชัน (trans-esterification) กับแอลกอฮอล์ (alcohol) ซึ่งใช้ได้ทั้งเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) หรือเมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) โดยมีสารเร่งปฏิกิริยา คือโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ท� ำให้ได้เอสเตอร์ (ester) ดังแสดงในรูปที่ ๔ เอสเตอร์หรือไบโอดีเซลที่ได้ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามชนิดของ แอลกอฮอล์ที่ใช้ท� ำปฏิกิริยา ถ้าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ เรียกว่า เมทิลเอสเตอร์ (methyl ester) และถ้า เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ เรียกว่า เอทิลเอสเตอร์ (ethyl ester) นอกจากนี้ยังได้กลีเซอรอล (glycerol) เป็น ผลพลอยได้จากปฏิกิริยาแทรนส์เอสเทอริฟิเคชัน ซึ่งสามารถน� ำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องส� ำอาง ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโรงงาน ขนาดเล็กที่ผลิตน�้ ำมันไบโอดีเซลจากน�้ ำมันพืชและสัตว์ที่ใช้แล้ว ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนนัก คือ หลังจากที่ได้น�้ ำมันพืช/สัตว์ที่ใช้แล้วจากการรับแลกหรือรับซื้อจากร้านค้าและครัวเรือน จะน� ำมาให้ความ ร้อนจนอุณหภูมิสูงถึง ๑๑๐ องศาเซลเซียส จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิลดลงเหลือ ๖๐ องศาเซลเซียส แล้ว เติมสารเคมีที่เตรียมไว้ผสม ขณะผสมสารเคมีกับน�้ ำมันพืช/สัตว์ต้องกวนส่วนผสมตลอดเวลา โดยรักษา อุณหภูมิที่ ๖๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ของผสมจะแยกชั้นเป็นไบโอดีเซลและกลีเซอรีน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=