สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บึ งประดิ ษฐ์กั บการบ� ำบั ดน�้ ำเสี ย 16 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ๑. เทศบาลเมืองสกลนครมีระบบบึงประดิษฐ์เพื่อรับน�้ ำหลังบ� ำบัดจากระบบบ่อปรับเสถียร (stabilization pond) สามารถรองรับน�้ ำเสียได้ ๑๖,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่ระบบบึงประดิษฐ์ ๑๘๔.๕ ไร่ ๒. เทศบาลนครหาดใหญ่มีระบบบึงประดิษฐ์เพื่อรับน�้ ำหลังบ� ำบัดจากระบบบ่อปรับเสถียร (stabilization pond) สามารถรองรับน�้ ำเสียได้ ๑๓๘,๖๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่ระบบบึงประดิษฐ์ ๕๑๕ ไร่ ๓. เทศบาลเมืองเพชรบุรีมีระบบบึงประดิษฐ์เพื่อรับน�้ ำหลังบ� ำบัดจากระบบบ่อปรับเสถียร (stabilization pond) สามารถรองรับน�้ ำเสียได้ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่ระบบบึงประดิษฐ์ ๒๒ ไร่ สรุป บึงประดิษฐ์เป็นระบบบ� ำบัดน�้ ำเสียที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน�้ ำ เพื่อบ� ำบัด มลพิษในน�้ ำเสีย เช่น จุลินทรีย์ที่ท� ำให้เกิดโรค ของแข็งแขวนลอย สารอินทรีย์ สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบฟอสฟอรัส และโลหะหนัก ระบบบึงประดิษฐ์เป็นระบบบ� ำบัดน�้ ำเสียที่มีราคาถูก ควบคุม ง่าย ขั้นตอนการสร้างและควบคุมระบบง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ท� ำให้ประหยัดพลังงาน และดูแลรักษาง่าย แต่ข้อเสียของบึงประดิษฐ์คือต้องใช้พื้นที่มาก และต้องเลือกใช้พืชให้เหมาะแก่ลักษณะ ของน�้ ำเสีย ปัจจุบันระบบบ� ำบัดน�้ ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ได้รับความนิยม มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม ขึ้น และน� ำไปประยุกต์ใช้กับน�้ ำเสียชนิดต่าง ๆ มากขึ้น เช่น น�้ ำเสียชุมชน น�้ ำเสียจากการเกษตร น�้ ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรม บึงประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบหลัก ๓ ส่วน คือ ชั้นกรอง จุลินทรีย์ และ พืช โดยที่กลไกในการบ� ำบัดน�้ ำเสียที่เกิดขึ้นในบึงประดิษฐ์นั้นประกอบด้วย กระบวนการทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การดูดซับ กระบวนการทางเคมี เช่น การตกตะกอน การแลกเปลี่ยนประจุ ปฏิกิริยา ออกซิเดชัน-รีดักชัน กระบวนการทางชีววิทยา เช่น การย่อยสลาย การดูดซับ การใช้สารมลพิษ โดยเฉพาะ สารอินทรีย์ เป็นแหล่งสารอาหารส� ำหรับจุลินทรีย์และพืช หรือเป็นแหล่งพลังงานส� ำหรับจุลินทรีย์ โดย เฉพาะในกระบวนการทางชีววิทยานั้น กลไกในการก� ำจัดสารมลพิษของจุลินทรีย์ และพืชสามารถแบ่ง ออกเป็นดังนี้คือ (๑) กลไกการก� ำจัดไนโตรเจน ไนโตรเจนจะถูกพืชใช้ และระเหยไปในรูปของแอมโมเนีย แต่ส่วนใหญ่ไนโตรเจนจะถูกก� ำจัดโดยจุลินทรีย์ ด้วยปฏิกิริยาไนทริฟิเคชันและปฏิกิริยาดีไนทริฟิเคชัน (๒) กลไกการก� ำจัดฟอสฟอรัสเกิดจากการใช้สารอาหารของพืช การตกตะกอน และการดูดซับของตะกอน (๓) กลไกการก� ำจัดจุลินทรีย์ที่ท� ำให้เกิดโรค (pathogen) การก� ำจัดจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ในบึงประดิษฐ์เกิด จากสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ในบึงประดิษฐ์ส่งผลให้ปริมาณลดลง เรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เช่น อุณหภูมิที่ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโต และแสงจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ ปริมาณจุลินทรีย์ดังกล่าวลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (๔) กลไกการก� ำจัดโลหะหนัก (Z. Jinlian et al. 2008) เกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=