สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่ บอกเวลาได้ถูกต้องตรงกั บเวลามาตรฐานของประเทศไทยโดยมี ความคลาดเคลื่ อนไม่เกิ น ๓ นาที ที่ ระดั บความเชื่ อมั่ นร้อยละ ๙o 222 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ตัวอย่างการค� ำนวณค่าความความไม่แน่นอนจากการทดลอง ที่มาของสูตร : United Kingdom Accreditation Service, The Expression of Uncertainty and Confidence in Measurement, M3003 Edition 2, January 2007. สรุป การประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่สามารถหมุนปรับหน้าปัดนาฬิกาแดดเพื่อชดเชยเวลา เนื่องจากลองจิจูดและเพื่อชดเชยเวลาจากสมการเวลา โดยมีการออกแบบหน้าปัดนาฬิกาแดดให้สามารถ หมุนปรับให้สัมพันธ์กับค่ามุมเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันได้สามารถท� ำได้โดยมีรายละเอียด ดังแสดงในบทความวิชาการนี้ นาฬิกาแดดที่ประดิษฐ์ขึ้นประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนของตัวนาฬิกา แดดที่มีลักษณะคล้ายกับนาฬิกาแดดของมหาวิทยาลัยโคโลราโด แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีหน้าปัดนาฬิกา แดดที่สามารถหมุนปรับเพื่อชดเชยเวลาได้ และส่วนของอุปกรณ์ตรวจวัดมุมเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ ในแต่ละวัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเซกแทนต์อย่างง่าย การใช้งานนาฬิกาแดดจะต้องใช้อุปกรณ์ทั้ง ๒ ส่วน ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ อุปกรณ์ส� ำหรับตรวจวัดมุมเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์จะใช้เงา จากสันก� ำเนิดเงาของอุปกรณ์ชี้แสดงสัญลักษณ์ของการหมุนปรับหน้าปัดนาฬิกาแดดที่เหมาะสมบนแผ่น หน้าปัดของอุปกรณ์ จากนั้นเมื่อผู้อ่านเวลาหมุนปรับหน้าปัดนาฬิกาแดดให้ขีดของหน้าปัด ณ ต� ำแหน่งเลข ๑๒ ชี้ตรงกับสัญลักษณ์ที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดมุมเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์แล้ว จะท� ำให้เงาที่เกิดจาก สันก� ำเนิดเงาของนาฬิกาแดดบอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาแดดได้ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานประเทศไทย โดยไม่ต้องท� ำการชดเชยเวลาแต่อย่างใด ผลการทดสอบพบว่าค่าเวลาที่อ่านได้จากการท� ำงานของชุด อุปกรณ์นาฬิกาแดดนี้สามารถบอกเวลาได้ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานประเทศไทยโดยมีความคลาด เคลื่อนไม่เกิน ๓ นาที ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=