สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
213 วีรวั ฒน์ หนองห้าง, จตุรงค์ สุคนธชาติ , ณสรรค์ ผลโภค วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ หามุมที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีหลังจากที่โลกอยู่ที่ต� ำแหน่งเพริฮีเลียนแล้วน� ำมาเปรียบเทียบกับ มุมที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม ซึ่งสามารถค� ำนวณหามุมนี้ได้ง่าย ๆ โดยการเฉลี่ยค่ามุมของ วงกลม กล่าวคือ ถ้าโลกมีวงโคจรเป็นวงกลม ค่าเฉลี่ยของมุมจะมีค่า = ๓๖๐ º /๓๖๕.๒๕ วัน ได้ค่าเฉลี่ย มุม = ๐.๙๘๕๖ ต่อวัน ทั้งนี้เนื่องจากโลกมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าอัตราเร็วเฉลี่ยในบางวันและจะเคลื่อนที่ ช้ากว่าอัตราเร็วเฉลี่ยในอีกบางวัน ดังนั้นต้องหาความแตกต่างของมุมในวันเหล่านั้นแล้วน� ำมาเปรียบ เทียบกับค่าเฉลี่ยของมุมวงกลม โดยในเดือนมกราคมโลกจะเคลื่อนที่เร็วกว่าอัตราเร็วเฉลี่ย และในเดือน กรกฎาคม โลกจะเคลื่อนที่ช้ากว่าอัตราเร็วเฉลี่ย ท� ำให้เวลาที่แตกต่างสะสมมากขึ้น ดังสมการ ν = λ + ๑.๙๑๕ sin λ เมื่อ λ คือ มุมที่โลกโคจรเป็นวงกลมและ ν คือ มุมที่โลกโคจรเป็นวงรี จากการค� ำนวณ สมการเวลาดังกล่าวจะได้ว่า ในรอบ ๓ เดือน ความคลาดเคลื่อนของเวลารวมกันเกือบจะถึง ๘ นาที ตัวอย่างการค� ำนวณสมการเวลาเนื่องจากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ ๒๒ เมษายน วิธีการค� ำนวณ จากสมการ ν = λ + ๑.๙๑๕ sin λ เมื่อ λ คือ มุมที่โลกโคจรเป็นวงกลม และ ν คือ มุมที่โลกโคจรเป็นวงรี N = จ� ำนวนวันซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม = ๑๑๒ วัน λ = ๐.๙๘๕๖ x (๑๑๒ _ ๒) = ๑๐๘.๔๑ องศา ν = λ + (๑.๙๑๕ x sin λ ) ν = ๑๐๘.๔๑ + (๑.๙๑๕ x sin ๑๐๘.๔๑) = ๑๑๐.๒๓ องศา จากผลการค� ำนวณจะได้ว่าโลกที่โคจรเป็นวงรีเคลื่อนที่เร็วกว่าโลกที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม ดังนั้น ดวงอาทิตย์จริงจึงเคลื่อนที่เร็วกว่าดวงอาทิตย์สมมติ เปรียบเทียบมุมที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม กับมุมที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ในการค� ำนวณถ้าค่าของมุมต่างกัน ๑ องศา เวลาจะแตกต่าง กัน ๓.๙๘๘๙ นาที λ - ν = ๑๐๘.๔๑ - ๑๑๐.๒๓ = - ๑.๘๒ องศา สมการเวลา = ( λ - ν ) x ๓.๙๘๘๙ = - ๑.๘๒ x ๓.๙๘๘๙= - ๗.๒๖ นาที จะได้ว่าในวันที่ ๒๒ เมษายน เวลาของดวงอาทิตย์จริงเร็วกว่าเวลาของดวงอาทิตย์สมมติอยู่ ๗ นาที ๑๖ วินาที ๒.๒ สมการเวลาเนื่องจากแกนโลกเอียง (http://www.ifpan.edu.pl/firststep/aw-works/fsII/ mul/mueller.html), (http://www.analemma.com/pages/framesPage.html )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=