สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่ บอกเวลาได้ถูกต้องตรงกั บเวลามาตรฐานของประเทศไทยโดยมี ความคลาดเคลื่ อนไม่เกิ น ๓ นาที ที่ ระดั บความเชื่ อมั่ นร้อยละ ๙o 212 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 รูปที่ ๒ แสดงหน้าปัดนาฬิกาแดดที่สามารถหมุนปรับได้โดยมีระยะห่างระหว่างช่องสเกล ๑ ชั่วโมงห่างกันช่อง ละ ๑๕ องศาและในระหว่างช่องสเกล ๑ ชั่วโมง จะแบ่งเป็นช่องสเกลนาทีโดยที่ระยะห่างระหว่างช่องสเกลนาที ห่างกันช่องละ ๑.๒๕ องศา ซึ่งจะเท่ากับช่วงเวลา ๕ นาที ๒. สมการเวลา (http://www.ifpan.edu.pl/firststep/aw-works/fsII/mul/mueller.html) จากการบอกเวลาของนาฬิกาแดดในแต่ละวันนั้นจะอ้างอิงกับต� ำแหน่งของดวงอาทิตย์ และ เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเล็กน้อยและแกนโลกเอียง ๒๓.๔๕ องศาจากแนวตั้งฉากกับ ระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงท� ำให้เวลาในแต่ละวันของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ปรากฏตามเส้นสุริยวิถี ในรอบ ๑ ปี ไม่เท่ากัน เพื่อความสะดวกในการค� ำนวณนักดาราศาสตร์จึงได้สมมติดวงอาทิตย์ขึ้นมาอีก ๑ ดวง ที่เคลื่อนที่ตามเส้นศูนย์สูตรฟ้าด้วยความเร็วคงที่ เมื่อน� ำเวลาจากดวงอาทิตย์ทั้งสองมาเปรียบเทียบ กันในแต่ละวันจะได้เวลาที่แตกต่างกันนั้นเรียกว่า “สมการเวลา” (equation of time) ๒.๑ สมการเวลาเนื่องจากวงโคจรของโลกเป็นวงรี (http://www.ifpan.edu.pl/firststep/aw- works/fsII/mul/mueller.html), (http://www.analemma.com/pages/framsPages.html ) เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเล็กน้อยท� ำให้อัตราเร็วของโลกที่โคจรรอบ ดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในรอบ ๑ ปี โดยอัตราเร็วของโลกจะมากที่สุดเมื่อต� ำแหน่งของโลก อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนมกราคม และจะช้าที่สุดเมื่อโลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ในเดือนกรกฎาคม ในการค� ำนวณสมการเวลาจะก� ำหนดให้ต� ำแหน่งที่โลกอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งเรียกว่า ต� ำแหน่งเพริฮีเลียน (perihelion) จะปรากฏขึ้นประมาณวันที่ ๒ มกราคม ซึ่งเราสามารถค� ำนวณ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=