สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่ บอกเวลาได้ถูกต้องตรงกั บเวลามาตรฐานของประเทศไทยโดยมี ความคลาดเคลื่ อนไม่เกิ น ๓ นาที ที่ ระดั บความเชื่ อมั่ นร้อยละ ๙o 210 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ๘. หากสันก� ำเนิดเงาของนาฬิกาแดดมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของสเกลเวลาบนหน้า ปัดนาฬิกาแดดจะท� ำให้ความคลาดเคลื่อนของเวลาที่เกิดเนื่องจากข้อ ๕ และข้อ ๖ จะไม่มีผลต่อการอ่าน ค่าเวลาจากนาฬิกาแดด รูปที่ ๑ แสดงนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรของมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ที่ต� ำแหน่งละติจูด ๔o องศาเหนือ และลองจิจูด ๑o๕.๓ องศาตะวันตก จากผลงานวิจัยดังกล่าวท� ำให้เราเชื่อว่าจะสามารถประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่มี ความเที่ยงตรงสูง มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๓ นาทีจากเวลามาตรฐานของประเทศได้ ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะศึกษาพัฒนาและประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น สามารถใช้งาน ได้ง่ายโดยบุคคลทั่วไปทุกช่วงอายุ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ โดย นาฬิกาแดดที่ประดิษฐ์ขึ้นจะสามารถน� ำไปประกอบการเรียนการสอนวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศใน ระดับมัธยมศึกษาได้ เช่น นาฬิกาแดดที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมประกอบการ เรียนการสอนวิชาดังกล่าวที่โรงเรียนจิตรลดา (มัธยมศึกษา) กรุงเทพมหานคร บทความนี้จึงขอน� ำเสนอ ถึงหลักการและวิธีการประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรตามรูปแบบเดียวกับที่ประดิษฐ์ขึ้นที่มหาวิทยาลัย โคโลราโด (แต่มีขนาดเล็กกว่า) พร้อมการพัฒนาให้นาฬิกาแดดดังกล่าวสามารถใช้บอกเวลามาตรฐานของ ประเทศไทยได้จากเงาที่ทอดลงบนหน้าปัดนาฬิกาแดด ซึ่งต้องอาศัยการประยุกต์นาฬิกาแดดที่ประดิษฐ์ขึ้น นี้ให้สัมพันธ์กับอุปกรณ์ส� ำหรับตรวจวัดเงาเพื่อระบุค่าเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์หรือเซกแทนต์อย่างง่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=