สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

209 วีรวั ฒน์ หนองห้าง, จตุรงค์ สุคนธชาติ , ณสรรค์ ผลโภค วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ของเงาสันก� ำเนิดเงาเองก็ยาวไม่คงที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ ใน ๑ วันและจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ เดือน เพราะอิทธิพลของแกนโลกเอียง ๒๓.๔๕ องศาจากแนวตั้งฉากกับระนาบสุริยวิถีและจากการโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ เงาของสันก� ำเนิดเงาในช่วงเวลา ๑ วันก็จะไม่เคยชี้ที่ต� ำแหน่งซ�้ ำเดิมเลยบน หน้าปัดนาฬิกาในแต่ละเดือนเนื่องจากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นวงรีน้อย ๆ จึงท� ำให้ เป็นปัญหาของนักดาราศาสตร์หรือผู้ที่จะประดิษฐ์นาฬิกาแดดที่จะต้องมีการแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อน ของเวลาที่อ่านจากนาฬิกาแดดเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย เมื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งหมด แล้วเวลาที่แสดงจากนาฬิกาแดดจะมีชื่อเรียกว่า “เวลาท้องถิ่น” ซึ่งอาจจะยังไม่ตรงกับเวลามาตรฐานของ ประเทศนั้น เพราะเวลามาตรฐานของประเทศอาจจะถูกสถาปนาขึ้นจากต� ำแหน่งที่ตั้งซึ่งมีลองจิจูดแตกต่าง ออกไป หากต้องการให้เวลาจากนาฬิกาแดดโดยทั่วไปสามารถบอกเวลาให้ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐาน ของประเทศนั้นจะต้องเพิ่มการปรับแก้เวลาที่แตกต่างกันระหว่างเวลา ณ ที่ลองจิจูดที่นาฬิกาแดดตั้งอยู่ กับเวลา ณ ที่ลองจิจูดซึ่งใช้สถาปนาเวลามาตรฐานของประเทศด้วย จึงจะท� ำให้นาฬิกาแดดบอกเวลาได้ ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานของประเทศ เช่น หากต้องการสร้างนาฬิกาแดดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ที่ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๒๗ ลิปดา ให้บอกเวลาถูกต้องตามเวลามาตรฐานของประเทศไทยจะต้อง ชดเชยความแตกต่างของเวลาประมาณ ๑๘ นาที เพราะว่าประเทศไทยสถาปนาเวลามาตรฐานของประเทศ ที่ลองจิจูด ๑๐๕ องศาตะวันออก จากงานวิจัยการประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรของมหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศ สหรัฐอเมริกา พบว่าการที่นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรบอกเวลาคลาดเคลื่อนนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุ ๘ ประการ คือ ๑. การติดตั้งสันก� ำเนิดเงาของนาฬิกาแดดโดยมีมุมเงยไม่เท่ากับค่าละติจูดของสถานที่ตั้ง นาฬิกาแดด ๒. สันก� ำเนิดเงาชี้ไม่ถูกต้องตรงกับมุมทิศหรือทิศเหนือแท้ ๓. การติดตั้งสันก� ำเนิดเงาไม่ตั้งฉากกับหน้าปัดของนาฬิกาแดด ๔. การติดตั้งจุดกึ่งกลางของสเกลบอกเวลาเที่ยงวันบนหน้าปัดนาฬิกาแดดทั้งสองด้านไม่ตรง กันและถูกติดตั้งในจุดที่ไม่ได้อยู่ที่ต� ำแหน่งต�่ ำสุดของหน้าปัด ๕. ระยะห่างระหว่างสเกลส� ำหรับบอกเวลาในหน้าปัดนาฬิกาแดดในตอนเช้าและตอนบ่ายมี ระยะห่างไม่เท่ากัน ๖. ขอบของเงาที่เกิดจากสันก� ำเนิดเงาไม่มีความคมชัดโดยอาจจะมีความกว้างได้ถึง ๑/๒ องศา ตามขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงอาทิตย์ ๗. วัสดุที่น� ำมาสร้างนาฬิกาแดด เช่น เหล็ก แกรนิตคอนกรีต มีการขยายตัวไม่เท่ากันเมื่อได้ รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือการทรุดตัวของดินใต้ฐานที่ติดตั้งนาฬิกาแดด แต่ความคลาดเคลื่อนที่ เกิดขึ้นนี้มีค่าน้อยมาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=