สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

207 วีรวั ฒน์ หนองห้าง, จตุรงค์ สุคนธชาติ , ณสรรค์ ผลโภค วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ วีรวัฒน์ หนองห้าง ๑,๒,๓ จตุรงค์ สุคนธชาติ ๑,๔ ณสรรค์ ผลโภค ๑,๓,๔ การประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรที่บอกเวลาได้ ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๓ นาที ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙o บทคัดย่อ โดยทั่วไปแล้ว การบอกเวลาของนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรให้ถูกต้องและตรงกับเวลา มาตรฐานของประเทศไทยนั้น ผู้อ่านเวลาจะต้องน� ำค่าเวลาชดเชยที่ได้รับจากสมการเวลาในแต่ละวัน มาบวกหรือลบกับเวลาที่อ่านได้จากเวลาที่ได้จากเงาของสันเกิดเงาซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าปัดนาฬิกาแดด ก่อน จึงจะสามารถบอกเวลาได้ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานของประเทศไทย ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนา และประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรส� ำหรับที่ตั้งของโรงเรียนจิตรลดา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ให้ มีการใช้งานได้ง่ายต่อการอ่านค่าเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องน� ำค่าเวลาชดเชย ที่ได้รับจากสมการเวลามาบวกหรือลบกับเวลาที่อ่านได้จากเงาบนหน้าปัดนาฬิกาแดด แต่สามารถอ่าน ค่าเวลามาตรฐานของประเทศไทยได้โดยตรงทันทีจากเงาที่ปรากฏบนหน้าปัดนาฬิกาแดด นาฬิกาแดด ที่ประดิษฐ์ขึ้นประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนของตัวนาฬิกาแดด และส่วนของอุปกรณ์ตรวจวัดมุม เดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ในแต่ละวัน การใช้งานนาฬิกาแดดจะต้องใช้อุปกรณ์ทั้ง ๒ ส่วนให้มีความ สอดคล้องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ อุปกรณ์ส� ำหรับตรวจวัดเงาเพื่อระบุมุมเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์จะระบุ สัญลักษณ์ของการหมุนปรับหน้าปัดนาฬิกาแดดที่เหมาะสมในการอ่านค่าเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาแดด จากนั้นเมื่อผู้อ่านเวลาหมุนปรับหน้าปัดนาฬิกาแดดให้ตรงกับสัญลักษณ์ดังกล่าวแล้วจะท� ำให้เงาที่เกิด จากสันเกิดเงาสามารถชี้บอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาแดดได้ถูกต้องตรงกับเวลามาตรฐานประเทศไทย โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๓ นาที ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙o ค� ำส� ำคัญ : นาฬิกาแดด, สมการเวลา, เดคลิเนชัน, สันก� ำเนิดเงา ๑ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒ โรงเรียนจิตรลดา ๓ ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๔ ห้องปฎิบัติการฟิสิกส์ศึกษาศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=