สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
199 ลอย ชุนพงษ์ทอง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ เช่น หาวันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๕๔๐ ตามที่อธิบายข้างต้นแล้วว่า ถ้าเกินเดือน ๘ ต้องใช้ ค่าปีวารตรุษของปีถัดไป ซึ่งวารตรุษของปี ๒๕๔๑ คือ ๖ (ตรงกับวันศุกร์) วารทดของเดือน ๑๑ ในตาราง คือ ๕ เลขค�่ ำคือ ๑๖ เมื่อแทนค่าทั้ง ๓ ในสมการ ๑ จะได้ Mod (วารตรุษ + วารทด + ค�่ ำ, ๗) = เศษของ (๖ + ๕ + ๑๖) ÷ ๗ ได้เศษ ๖ จึงตรงกับวันศุกร์ พ.ศ. หนตรุษ ๒๕๔๐ ๑๕ เปิกยี ๒๕๔๑ ๑๐ ก่าเร้า ๒๕๔๒ ๔ เมืองเหม้า ๒๕๔๓ ๒๘ ร้วงเหม้า เทคนิคที่ ๒ การวางปฏิทินด้วยหนตรุษ มีวิธีการทางคณิตศาสตร์เหมือนเทคนิคแรก แต่แทนที่จะใช้รอบ ๗ วัน ก็ใช้รอบ ๖๐ วัน เหมาะส� ำหรับปฏิทินไทยที่มีการระบุวันหนไทย ใน จารึกร่วมกับวันทางจันทรคติ เช่น ช่วงกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังจะยก ตัวอย่าง ค่าหนตรุษต่อไปนี้ ค่าประจ� ำหนตรุษ ๐ ก่าใค้ ๑ กาบใจ้ ๒ ดับเป้า ๓ รวายยี ๔ เมืองเหม้า ๕ เปิกสี ๖ กัดใส้ ๗ กดสะง้า ๘ ร้วงเม็ด ๙ เต่าสัน ๑๐ ก่าเร้า ๑๑ กาบเส็ด ๑๒ ดับใค้ ๑๓ รวายใจ้ ๑๔ เมืองเป้า ๑๕ เปิกยี ๑๖ กัดเหม้า ๑๗ กดสี ๑๘ ร้วงใส้ ๑๙ เต่าสะง้า ๒๐ ก่าเม็ด ๒๑ กาบสัน ๒๒ ดับเร้า ๒๓ รวายเส็ด ๒๔ เมืองใค้ ๒๕ เปิกใจ้ ๒๖ กัดเป้า ๒๗ กดยี ๒๘ ร้วงเหม้า ๒๙ เต่าสี ๓๐ ก่าใส้ ๓๑ กาบสะง้า ๓๒ ดับเม็ด ๓๓ รวายสัน ๓๔ เมืองเร้า ๓๕ เปิกเส็ด ๓๖ กัดใค้ ๓๗ กดใจ้ ๓๘ ร้วงเป้า ๓๙ เต่ายี ๔๐ ก่าเหม้า ๔๑ กาบสี ๔๒ ดับใส้ ๔๓ รวายสะง้า ๔๔ เมืองเม็ด ๔๕ เปิกสัน ๔๖ กัดเร้า ๔๗ กดเส็ด ๔๘ ร้วงใค้ ๔๙ เต่าใจ้ ๕๐ ก่าเป้า ๕๑ กาบยี ๕๒ ดับเหม้า ๕๓ รวายสี ๕๔ เมืองใส้ ๕๕ เปิกสะง้า ๕๖ กัดเม็ด ๕๗ กดสัน ๕๘ ร้วงเร้า ๕๙ เต่าเส็ด ค่าความแตกต่างของหนตรุษของปีที่ติดกันจะบอกชนิดของปีได้ เช่น จาก พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๔๑ มีค่าวารตรุษลดลง ๖ (๑๕ - ๑๐ = ๕) (หากได้ค่าติดลบ ให้บวกเพิ่มไปด้วย ๖๐) เขียนเป็นฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์ได้ว่า Ye a rTypeH = Mod ( H ๐ – H ๑, ๖๐) H ๐ เป็นค่าหนตรุษของปีปัจจุบัน H ๑ เป็นค่าหนตรุษของปีถัดไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=