สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การแปลงปฏิ ทิ นไทยด้วยค่าประจ� ำปีและเทคนิ คการค� ำนวณในใจ 198 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ๑. วันตรุษศก (แรม ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๔) จะมีวาระในสัปดาห์ลดลง ๒ วัน เมื่อเทียบกับวัน ตรุษนักษัตร (แรม๑๕ค�่ ำ เดือน๑๒) ของ ๔ เดือนก่อนหน้าเสมอ เพราะมีระยะห่างกัน ๑๑๘ วัน หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๖ หรือ -๑ คือ วาระลดลง ๑ เช่น วันตรุษนักษัตร พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น วันพุธ (๔) และวันตรุษศก (อีก ๔ เดือนทางจันทรคติต่อมา) เป็นวันอังคาร (๓) ๒. วันวิสาขบูชา (ขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๖) จะห่างจากวันตรุษ ๔๔ วันเสมอ เมื่อหารด้วย ๗ ได้ เศษ ๒ จึงบวกเข้าไป ๒ วัน จ.ศ. ๒๕๔๐ จึงค� ำนวณได้จาก ๑ + ๒ = ๓ เป็นวันอังคาร ๓. ตั้งแต่เดือน ๘ จริง (๘ หนหลัง) ของปีก่อน ถึงเดือน ๗ ของปีที่พิจารณา สามารถค� ำนวณ ได้ด้วยวารตรุษของปีนั้น โดยไม่ต้องใช้การปรับแก้จากการที่มีอธิกมาสและอธิวารแต่อย่างใด เหตุที่ในกรณีที่เป็นปีอธิวารไม่ต้องปรับแก้ เพราะใช้ค่าวารตรุษของปีถัดไปมาค� ำนวณได้ เช่น ต้องการค� ำนวณหาวันลอยกระทงของ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่เป็นปีอธิกวาร ก็ใช้ค่าวารตรุษ ของปี ๒๕๔๑ (๖ วันศุกร์) มาค� ำนวณแทน ซึ่งระยะห่างระหว่างวันลอยกระทง พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงวันตรุษไทย พ.ศ. ๒๕๔๑ เท่ากับ ๑๓๓ วันเสมอ และหารด้วย ๗ ลงตัว จึงเป็นวันศุกร์ เช่นกัน ๔. ส่วนเดือน ๘ หนแรกในปีอธิกมาสจะให้ค่าที่ตรงกับเดือน ๓ ที่ผ่านมาเสมอ เช่น ถ้าวันขึ้น X ค�่ ำ เดือน๓ เป็นวัน Y ดังนั้นวันขึ้น X ค�่ ำ เดือน๘หนแรกก็จะเป็นวัน Y ด้วยเสมอ เพราะมีระยะห่าง เท่ากับ ๑๔๗ วันเสมอ ซึ่งหารด้วย ๗ ลงตัว วิธีค� ำนวณในใจด้วยค่าวารทดประจ� ำเดือน สมการที่ใช้ค� ำนวณ วัน = Mod (วารตรุษ + วารทด + ค�่ ำ, ๗)...................................................(สมการ ๑) ปฏิทินแต่ละเดือนมีค่าวารทดต่อไปนี้ เดือนไทย หนทด ๘ ๐ ๙ ๒ ๑๐ ๓ ๑๑ ๕ ๑๒ ๖ ๑ ๑ ๒ ๒ ๓ ๔ ๔ ๕ ๕ ๐ ๖ ๑ ๗ ๓ ๘ ๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=