สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
197 ลอย ชุนพงษ์ทอง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ค่าความแตกต่างของวารตรุษของปีที่ติดกันจะบอกชนิดของปีได้ เช่น จาก พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๔๑ มีค่าวารตรุษลดลง -๕ ซึ่งบวกด้วย ๗ = ๒ (หากได้ค่าติดลบให้บวกเพิ่มไปด้วย ๗) เขียนเป็นฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์ได้ว่า Ye a rTypeD = Mod ( D ๐– D ๑, ๗) D ๐ เป็นค่าวารตรุษของปีปัจจุบัน D ๑ เป็นค่าวารตรุษของปีถัดไป Mod เป็นฟังก์ชัน modulus หารเพื่อหาเศษ เช่น Mod (๘, ๗) = ๑, Mod (-๑, ๗) = ๖ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจเข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้าได้ผลเป็นเลขติดลบให้บวกด้วย ๗ เข้าไปเพื่อให้ได้ค่าเป็นบวก สามารถ แปลงค่า Ye a rTypeD ได้ดังนี้ Ye a rTypeD = ๑ อธิกมาส Ye a rTypeD = ๒ อธิกวาร Ye a rTypeD = ๓ ปกติวาร (ปกติ) หมายเหตุ l หากทราบชนิดของปีปัจจุบันก็สามารถหาค่าวารตรุษของปีถัดไปได้เช่นกันโดยการลบด้วย ๑ หากเป็นปีอธิกมาส, ลบด้วย ๒ หากเป็นปีอธิกวาร หรือ ลบด้วย ๓ หากเป็นปีปกติ l ปฏิทินคนละชุดที่วางอธิกมาสและอธิกวารไม่ตรงกัน ค่าวารตรุษก็จะไม่ตรงกัน l เมื่อค่าวารตรุษของปีใดที่ไม่ตรงกันแสดงว่าปีก่อนหน้านั้นมีการวางอธิกมาสหรืออธิกวาร ไม่ตรงกัน วิเคราะห์ตารางข้างต้นได้เป็นตารางใหม่ต่อไปนี้ การค� ำนวณหาว่าวันค�่ ำใดตรงกับวาระใด (วันในสัปดาห์) ก็จะเป็นเรื่องง่าย ดังยกตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อให้เห็นเป็นแนวทางไปประยุกต์ใช้กับวันอื่น ๆ ได้ พ.ศ. วารตรุษ YearTypeD ๒๕๔๐ ๑ อา ๒ อธิกวาร ๒๕๔๑ ๖ ศ. ๓ ปกติ ๒๕๔๒ ๓ อัง. ๑ อธิกมาส ๒๕๔๓ ๒ จ. ๒ อธิกวาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=