สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การแปลงปฏิ ทิ นไทยด้วยค่าประจ� ำปีและเทคนิ คการค� ำนวณในใจ 196 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 การแปลงปฏิทินไทยด้วยค่าประจ� ำปี และเทคนิคการค� ำนวณในใจ ลอย ชุนพงษ์ทอง ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ * ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ; ที่ปรึกษาการค� ำนวณปฏิทินหลวง ส� ำนักพระราชวัง รูปแบบของเทคนิค การแปลงปฏิทินไปสู่อีกระบบเพื่อตรวจว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น วันที่ ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๕ ของ จ.ศ. ๑๐๐๐ ตรงกับวันที่ เดือน ปีอะไรในระบบสากล ( Gregori an ) หรือท� ำนองกลับกัน เช่น วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับ วันขึ้นแรมกี่ค�่ ำ เดือนอะไร ผู้เขียนได้คิดเทคนิคไว้หลายรูปแบบ ดังขอ ยกตัวอย่างในที่นี้ ๓ รูปแบบ คือ ๑. ใช้เลขวาระ (เสาร์ = ๐, อาทิตย์ = ๑, อังคาร = ๒, ...) ของวันใดวันหนึ่งในปฏิทินไทย เช่น วันตรุษไทย ว่าตรงกับเลขวาระใด ในบทความนี้จะใช้วันตรุษไทย หรือ ๑๕ ค�่ ำเดือน ๔ ให้ชื่อว่า ค่าวารตรุษ เช่น ใน จ.ศ. ๑๐๐๐ วันตรุษไทยตรงกับวันอาทิตย์ หมายความว่า ค่าวารตรุษของ จ.ศ. ๑๐๐๐ คือ ๑ ๒. ใช้เลขหนไทย (ก่าใค้ = ๐, กาบใจ้ = ๑, ดับเป้า = ๒, ...) ของวันใดวันหนึ่งในปฏิทินไทย เช่น วันตรุษไทย ว่าตรงกับเลขหนไทยใด ในบทความนี้ จะใช้วันตรุษไทยเช่นกัน โดยให้ ชื่อว่า ค่าหนตรุษ เช่น ใน จ.ศ. ๑๐๐๐ วันตรุษไทยตรงกับวันก่าใส้ หมายความว่า ค่าหนตรุษของ จ.ศ. ๑๐๐๐ คือ ๓๐ ๓. ใช้ระยะระหว่างวันในเกรกอเรียนกับวันในปฏิทินไทย เช่น ๑ มีนาคม กับ วันขึ้น ๑ ค�่ ำ เดือน ๓ ค่าระยะห่างนี้ให้ชื่อว่า ค่าประเสริฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ผู้มีผลงานการแปลงปฏิทินไทยเป็นปฏิทินสากล อันทรงคุณค่ายิ่งต่อวงการ ประวัติศาสตร์ พ.ศ. วารตรุษ ๒๕๔๐ ๑ อา ๒๕๔๑ ๖ ศ. ๒๕๔๒ ๓ อัง. ๒๕๔๓ ๒ จ. เทคนิคที่ ๑ การวางปฏิทินด้วยวารตรุษ การวางด้วยวารตรุษ เหมาะส� ำหรับปฏิทินไทยที่มีการระบุวันใน สัปดาห์ของบันทึกร่วมกับวันทางจันทรคติ เช่น ช่วงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังจะยกตัวอย่างค่าวารตรุษดังต่อไปนี้ (Chunpongtong 2008) ค่าประจ� ำวารตรุษ ๐ เสาร์ ๑ อาทิตย์ ๒ จันทร์ ๓ อังคาร ๔ พุธ ๕ พฤหัส ๖ ศุกร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=