สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

185 สุทั ศน์ ยกส้าน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ๒๐๑๓ : หนึ่งศตวรรษแห่งโลกอะตอมของ Niels Bohr สุทัศน์ ยกส้าน ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน หากไม่นับ Albert Einstein แล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จะ ไม่มีนักฟิสิกส์คนใดที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อฟิสิกส์มากเท่า Niels Bohr นอกจากจะเป็นนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว Bohr ยังเป็นนักปรัชญาด้วย แต่ก็ ไม่เหมือนนักปรัชญาส่วนใหญ่ที่ชอบเขียนหนังสือ เพราะ Bohr ไม่ได้เขียน ต� ำราปรัชญาเลย กระนั้นอิทธิพลทางความคิดด้านปรัชญาของ Bohr ก็ ถูกส่งผ่านทางลูกศิษย์ และผู้ร่วมงาน เมื่อมีการสัมมนาที่ Institute for Theoretical Physics ซึ่งเป็นสถาบันที่ Bohr จัดตั้งขึ้นที่ Copenhagen ใน ประเทศเดนมาร์ก จนในสมัยนั้นสถาบันนี้คือส� ำนักตักสิลาที่นักฟิสิกส์ทุก คนต้องการไปเยือน ในวัยหนุ่ม Bohr เป็นคนร่างใหญ่ ศีรษะโต ขนคิ้วดก มีดวงตาที่แสดงให้เห็นว่าเป็นคนช่างคิด และชอบแปลความหมายของถ้อยค� ำที่ได้ยิน ดังนั้นเวลา Bohr พูดอะไรออกมา ทุกคนจะรู้ทันทีว่า นั่นคือ ความคิดที่ Bohr ได้กลั่นกรองแล้ว เสียงที่ Bohr พูดค่อนข้างเบา ดังนั้น เมื่อ Bohr ลดเสียง ประเด็นบาง ประเด็นที่ Bohr พูด อาจไม่มีใครได้ยิน ด้วยเหตุนี้เมื่อ Bohr พูดสัมมนาทุกครั้งทุกคนจะนั่งนิ่ง เงียบ และ ตั้งใจฟัง เพื่อจะเข้าใจค� ำพูดทุกค� ำที่ออกมาจากปาก Bohr (คงเป็นท� ำนองเดียวกับชาวกรีกโบราณเวลาเข้า ฟังค� ำบรรยายของ Socrates) เวลาเข้าฟังสัมมนาของคนอื่น Bohr ชอบซักและชักน� ำองค์ปาฐกให้เสนอ เหตุผลที่เป็นตรรกะ ไม่ก� ำกวม เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง นักเรียนวิทยาศาสตร์ทุกคนรู้เรื่องแบบจ� ำลองอะตอมไฮโดรเจนที่ Bohr น� ำเสนอใน ค.ศ. ๑๙๑๓ ซึ่งมีเนื้อหาว่า ในอะตอมไฮโดรเจนมีอิเล็กตรอน ๑ อิเล็กตรอนที่โคจรเป็นวงกลมรอบนิวเคลียส โดย วงโคจรที่มีหลายวงมีความยาวของรัศมีได้เฉพาะบางค่าเท่านั้น นั่นคืออิเล็กตรอนไม่สามารถอยู่ทุกหนทุก แห่งในอะตอม แต่จะอยู่ได้ในเฉพาะบางที่เท่านั้น และเมื่ออิเล็กตรอนกระโจนจากวงโคจรวงนอกเข้าสู่วง โคจรวงใน จะเกิดการปล่อยแสงขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม อิเล็กตรอนก็สามารถกระโจนจากวงโคจรวงใน ไปสู่วงโคจรวงนอกได้โดยการดูดกลืนแสงเข้าไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=