สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

179 ณรงค์ศั กดิ์ ชั ยบุตร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ควบคุม ๕ ชม. วันที่ ๕ วันที่ ๑๐ ปริมาตรเลือด (มล./กก.) ๖๓.๙ ๖๘.๑ ๖๒.๕ ๕๖.๗** ปริมาตรพลาสมา (มล./กก.) ๔๗.๔ ๕๐.๘๕* ๔๖.๔ ๔๒.๓* ปริมาตรเซลล์ (มล./กก.) ๑๖.๕ ๑๗.๒ ๑๕.๗ ๑๔.๓* ปริมาตรของน�้ ำในพลาสมา (มล./กก.) ๔๓.๐ ๔๕.๘ ๔๒.๖ ๓๘.๗* ปริมาณของแข็งในพลาสมา (กรัม/กก.) ๓.๗๘ ๓.๙๒** ๓.๗๓ ๓.๖๕ โปรตีนในพลาสมา (กรัม%) ๘.๙ ๙.๔* ๙.๕* ๙.๙* กลูโคสในพลาสมา (กรัม%) ๗๙ ๑๐๐* ๑๐๒* ๑๐๐* เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (ร้อยละ) ๒๗.๖ ๒๕.๙ ๒๕.๓** ๒๕.๒* ภายในร่างกาย (glucose turnover rate) จะเพิ่มขึ้นขณะอยู่ในภาวะเครียดจากความร้อน การเพิ่มขึ้นของ สารประกอบไนโตรเจนในเลือดขณะสัตว์อยู่ในภาวะเครียดจากความร้อนจะไม่สัมพันธ์กับดุลของกลูโคส ภายในร่างกาย การทดลองฉีดสารยูเรียเข้าหลอดเลือดด� ำกระบือปลักเพื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของ ยูเรียในพลาสมา จะพบว่าการใช้กลูโคสภายในร่างกาย (glucose utilization) จะลดลง ส่วนความเข้มข้น ของอิเล็กโทรไลต์ต่าง ๆ ในพลาสมา พบว่าอนินทรีย์ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไอออนในพลาสมาจะ ลดลงขณะที่กระบืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลา ๔-๕ ชม. ส่วนระดับความเข้มข้นของ โซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียมไอออนในพลาสมาไม่พบการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ความเข้มข้นของ คลอไรด์ไอออนในพลาสมาจะเพิ่มขึ้น กระบือที่อยู่กลางแจ้งตากแดดติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ วัน การตอบสนองของร่างกายพบว่า ปริมาณพลาสมาจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงห้าวันแรก โดยพบการเคลื่อนที่ของน�้ ำจากส่วนต่าง ๆ เข้าสู่ส่วน พลาสมามากขึ้น ส่วนในช่วงระยะเวลาจากวันที่ ๕ ถึงวันที่ ๑๐ ปริมาตรพลาสมาและปริมาตรของเลือด ภายในร่างกายจะลดลง (ตารางที่ ๒) จากกระบวนการระบายความร้อนออกจากร่างกายในช่วงระยะเวลา ดังกล่าวท� ำให้มีการสูญเสียน�้ ำออกจากร่างกายจากส่วนพลาสมาและจากภายในเซลล์ทั่วไปในสัดส่วนที่เท่า กัน อัตราการเคลื่อนผ่านของเหลวในกระเพาะส่วนรูเมนสู่ส่วนท้ายของระบบทางเดินอาหารในวันที่ ๑๐ ยังคงสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ (Chaiyabutr et al. 1990a) ตารางที่ ๒ แสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรเลือด ปริมาตรพลาสมา ปริมาตรเซลล์ ปริมาตรของน�้ ำใน พลาสมา ปริมาณของแข็งในพลาสมา ความเข้มข้นโปรตีนในพลาสมา ความเข้มข้นกลูโคสใน พลาสมาและร้อยละของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นของกระบือปลักที่อยู่ในร่มและอยู่กลางแจ้งตากแดด ในระยะเฉียบพลันและระยะเวลานาน ในร่ม ตากแดด เปรียบเทียบค่าที่วัดขณะอยู่กลางแจ้งตากแดดกับค่าที่วัดขณะอยู่ในร่ม : ค่าแตกต่างมีนัยส� ำคัญทางสถิติ * P<0.05, **P<0.01. ( ที่มา : Chaiyabutr et al. 1987, 1990a)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=