สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

กระบื อปลั กกั บภาวะเครี ยดจากความร้อน 178 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ของน�้ ำในกระบวนการระบายความร้อนของร่างกายยังคงเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณน�้ ำทั้งหมดภายในร่างกายใน วันที่ ๕ และวันที่ ๑๐ ลดลงประมาณร้อยละ ๑๐ เมื่อเทียบกับสภาพปกติ (ตารางที่ ๑) นอกจากการเพิ่ม ขึ้นของอัตราการหมุนเวียนของน�้ ำภายในร่างกายเมื่อสัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงและไม่ได้ นอนแช่ปลัก กระบือจะมีการปรับตัวโดยการกินน�้ ำเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาปริมาณน�้ ำภายในร่างกายให้คงที่ จากการสูญเสียน�้ ำของร่างกายมากขึ้นในกระบวนการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยวิธีการระเหย เป็นไอผ่านทางปอด ความสัมพันธ์เช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความจ� ำเป็นของการนอนแช่ในปลักของกระบือ และการมีน�้ ำไว้ให้สัตว์ได้กินอย่างพอเพียงในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ควบคุม ๔ ชม. วันที่ ๕ วันที่ ๑๐ อัตราการหมุนเวียนน�้ ำ ๓๖๑ ๕๐๖* ๖๖๕* ๖๖๕* (มล./กก. ๐.๘๒ .วัน ) ปริมาณน�้ ำในร่างกาย ๖๓.๐ ๖๒.๖ ๕๑.๘* ๕๑.๕* (ลิตร/๑๐๐ กก.) ค่าครึ่งชีวิต ( T1/2 3 H 2 O ) (ชม.) ๘๗ ๔๙** ๕๕** ๔๒** น�้ ำหนักตัว (กก.) ๓๔๓ ๓๔๕ ๓๓๙ ๓๓๙ เปรียบเทียบค่าที่วัดขณะอยู่กลางแจ้งตากแดดกับค่าที่วัดขณะอยู่ในร่ม : ค่าแตกต่างมีนัยส� ำคัญทางสถิติ * P <0.05, ** P <0.01. ( ที่มา : Chaiyabutr et al. 1987, 1990a) ตารางที่ ๑ แสดงการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหมุนเวียนของน�้ ำ ปริมาณน�้ ำในร่างกาย ค่าครึ่งชีวิต (T1/2 3 H 2 O) และน�้ ำหนักตัวของกระบือปลัก ที่อยู่ในร่มและอยู่กลางแจ้งตากแดด ในระยะ เฉียบพลันและระยะเวลานาน ในร่ม ตากแดด ๕. การเปลี่ยนแปลงของปริมาตรพลาสมา ปริมาตรเลือด และส่วนประกอบในพลาสมา กระบือปลักที่อยู่ในภาวะเครียดจากความร้อนแบบเฉียบพลันที่อุณหภูมิแวดล้อมที่ ๓๙°ซ. เป็น เวลา ๔-๕ ชั่วโมง พบว่าร้อยละของเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (packed cell volume) มีค่าลดลงเป็นผลมาจาก การเพิ่มของน�้ ำในส่วนพลาสมา (plasma water) จึงท� ำให้ปริมาตรพลาสมาเพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่ม อัตราการเคลื่อนของของเหลวจากกระเพาะส่วนรูเมนและของเหลวจากบริเวณเนื้อเยื่อนอกหลอดเลือด (extravascular tissue) เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากขึ้น (Chaiyabutr et al. 1987) เป็นผลให้ปริมาตรของ เลือดเพิ่มขึ้น ส่วนประกอบในพลาสมาที่เป็นสารประกอบไนโตรเจน ได้แก่ โปรตีน ครีเอทินีน จะมีความ เข้มข้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนความเข้มข้นของยูเรียในพลาสมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและยังพบว่าความเข้ม ข้นของกลูโคสในพลาสมาจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส� ำคัญด้วย นอกจากนี้ยังพบอัตราการหมุนเวียนของกลูโคส

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=