สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

177 ณรงค์ศั กดิ์ ชั ยบุตร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ปลักถูกปล่อยอยู่กลางแจ้งตากแดดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๑๐ วัน (short term heat exposure) การเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจในวันที่ ๕ และวันที่ ๑๐ ยังอยู่ในอัตราสูงเมื่อเทียบกับ ระยะควบคุม แสดงว่าร่างกายของกระบือยังไม่มีการปรับตัว (acclimation) ต่อสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (รูปที่ ๔) แตกต่างจากโคซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นกัน โดยมีรายงานว่าโคสามารถ ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันแรก ๆ และจะตอบสนองลดลงในช่วงอาทิตย์ที่ ๒ ขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูง รูปที่ ๔ แสดงการเปลี่ยนแปลงการท� ำงานของร่างกายเกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ และอัตราการ เต้นของหัวใจของกระบือปลักที่อยู่ในร่ม (shade) ในห้องร้อนเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง (4h-HR) อยู่กลางแจ้ง ตากแดดเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง (4h-NS) อยู่กลางแจ้งกลางแดดติดต่อกันเป็นเวลา ๕ วัน (5d-NS) และ ๑๐ วัน (10d-NS) ๔. การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน�้ ำและอัตราการหมุนเวียนของน�้ ำในร่างกาย การหมุนเวียนของน�้ ำภายในร่างกาย (water turnover) เป็นกลไกอย่างหนึ่งในกระบวนการ ระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการหมุนเวียนผ่านออกจากร่างกายได้หลายทาง เช่น ผ่านโดยการ ระเหยเป็นไอโดยทางปอด อัตราการหมุนเวียนของน�้ ำภายในร่างกายของกระบือปลักค่อนข้างสูงกว่าสัตว์ เคี้ยวเอื้องชนิดอื่นเมื่อเทียบกับน�้ ำหนักตัว กระบือที่อยู่ในภาวะเครียดจากอุณหภูมิแวดล้อม ๓๙°ซ. นาน ๕ ชั่วโมง อัตราการหมุนเวียนของน�้ ำจะเพิ่มขึ้นเกือบ ๒ เท่าจากค่าปกติ แต่ปริมาณน�้ ำในร่างกายทั้งหมด ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อกระบืออยู่กลางแจ้งตากแดดติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ วัน พบว่าอัตราการหมุนเวียน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=