สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

กระบื อปลั กกั บภาวะเครี ยดจากความร้อน 176 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ผิวหนังของกระบือจะมีจ� ำนวนต่อมเหงื่อและปริมาณเลือดมาเลี้ยงต่อหน่วยพื้นที่ (เฉลี่ย ๑๓๕- ๓๙๔ ต่อม/ซม. ๒ ) น้อยกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่น เช่น โค (เฉลี่ย ๑,๙๙๖-๒,๘๙๓ ต่อม/ซม. ๒ ) (Hafez et al. 1955) และการที่ผิวหนังกระบือมีสีด� ำและหนา ท� ำให้การดูดซับความร้อนไว้ในร่างกาย มากกว่าการระบายความร้อนผ่านทางผิวหนัง กระบือปลักที่อยู่กลางแจ้งตากแดด การระบายความร้อน ผ่านทางการขับเหงื่อมีน้อย แต่จากการศึกษาพบว่ามีการขับน�้ ำบางส่วนที่ไม่ใช่เหงื่อออกจากร่างกายโดย วิธีการแพร่ผ่านทางผิวหนังของกระบือปลักได้ (Ranawana et al. 1983) อย่างไรก็ตาม การระบายความ ร้อนโดยวิธีการระเหยของน�้ ำผ่านทางวิธีนี้ยังไม่เพียงพอ ในขณะที่สัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ สูงจะมีการขยายของหลอดเลือดที่มายังบริเวณผิวหนังท� ำให้เลือดมาที่บริเวณผิวหนังมากขึ้น ท� ำให้การ ระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยวิธีการพาและการน� ำความร้อนได้มากขึ้น แต่เนื่องจากหลอดเลือด ที่มายังบริเวณผิวหนังมีทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดด� ำที่อยู่ใกล้ชิดกันและการไหลของเลือดสวน ทิศทางกัน เป็นผลให้เกิดการถ่ายเทความร้อนจากเลือดภายในหลอดเลือดแดงไปยังหลอดเลือดด� ำที่ไหล กลับเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงเป็นวิธีการถนอมความร้อนไว้ภายในร่างกายมากกว่าการระบายความร้อน ออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง นอกจากนี้พบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงที่ผิวหนังบริเวณทรวงอกส่วนใหญ่ไปยัง บริเวณกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงและทรวงอก ดังนั้นในขณะที่เกิดภาวะเครียดจากความร้อน กระบือปลัก จะมีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นท� ำให้การระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังที่บริเวณดังกล่าวได้มากขึ้น จึงขึ้น อยู่กับการท� ำงานของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเป็นส� ำคัญ ๓. การตอบสนองของระบบหัวใจและระบบหายใจ จากการศึกษาพบว่าเมื่ออุณหภูมิแวดล้อมภายนอกร่างกายไม่เกิน ๓๐°ซ. จะไม่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกายของกระบือปลัก แสดงว่ากระบือปลักสามารถปรับดุลความร้อนระหว่างความร้อนที่เกิดภายในร่างกายและการระบายความ ร้อนออกจากร่างกายได้ง่ายในช่วงอุณหภูมิดังกล่าว เมื่ออุณหภูมิภายนอกเกินกว่า ๓๐°ซ. กระบือจะมีอัตรา การหายใจเร็วขึ้นโดยที่อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในช่วงคงที่ อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มตามเมื่ออุณหภูมิ ภายนอกเกินกว่า ๓๗°ซ. โดยเชื่อว่าอัตราการหายใจที่เพิ่มก่อนอุณหภูมิร่างกายจะเป็นผลจากอุณหภูมิ ความร้อนภายนอกร่างกายไปกระตุ้นตัวรับความร้อนที่อยู่บริเวณผิวหนังของกระบือปลัก ซึ่งจะไวต่อการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอกได้มากกว่า และส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจที่ สมอง ในขณะเกิดภาวะเครียดจากการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงแบบเฉียบพลัน (acute heat exposure) ที่ ๓๙°ซ. เป็นเวลา ๔-๕ ชั่วโมง พบว่าอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการ เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย การเพิ่มอัตราการหายใจของกระบือปลักที่อยู่กลางแจ้งตากแดดที่ได้รับรังสี โซลาร์จากแสงแดด จะมีมากกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์ที่อยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ ๓๙°ซ. ในเวลาเท่ากัน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าผิวหนังกระบือมีสีด� ำและหนามีการดูดซับความร้อนจากแสงแดดได้มากกว่า เมื่อกระบือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=