สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
175 ณรงค์ศั กดิ์ ชั ยบุตร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ เนื่องจากกระบือปลักเป็นสัตว์ที่ไม่ทนร้อน เกษตรกรไม่ใช้กระบือท� ำงานในช่วงกลางวันที่สภาพอากาศร้อน จัด แรงงานกระบือจึงถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตร รวมทั้งมีการส่งกระบือเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้จ� ำนวนกระบือในประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็วจนอาจเข้าสู่ขั้นวิกฤต การส่งเสริมการ เลี้ยงกระบือปลักเพื่อเพิ่มผลผลิตควรมีการเข้าใจถึงกลไกการท� ำงานของร่างกายกระบือปลักในภาวะ เครียดความร้อน ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดการเลี้ยงดูในการ เพิ่มประชากรของกระบือปลัก บทความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยการตอบสนองการท� ำงาน ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายกระบือปลักที่อยู่ในภาวะเครียดจากความร้อน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน จัดทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะเวลานาน ๒. การระบายความร้อนผ่านทางผิวหนัง กลไกการปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เมื่อได้รับความร้อนจากภายนอกร่างกายมากขึ้น การ ขับเหงื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการระบายความร้อนออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง โดยอาศัยวิธีการ น� ำความร้อน การพาความร้อน และการระเหยเป็นไอน�้ ำ การระบายความร้อนด้วยการระเหยเป็น ไอนอกจากจะผ่านทางผิวหนังแล้วยังมีการระบายความร้อนด้วยวิธีการระเหยเป็นไอผ่านการหายใจ ทางปอดด้วย มีสัตว์หลายชนิดมีจ� ำนวนต่อมเหงื่อที่ผิวหนังแตกต่างกันจะมีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ ภายในร่างกายแตกต่างกัน กระบือเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีจ� ำนวนต่อมเหงื่อที่ผิวหนังน้อยหรือต่อมเหงื่อ ไม่พัฒนาการท� ำงานเช่นเดียวกับสุกร สุนัข แมว และไก่ การระบายความร้อนด้วยการระเหยเป็นไอน�้ ำ โดยทางปอดจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับอัตราการหายใจ ที่อาจเพิ่มขึ้นจนเป็นการหายใจหอบ ( panting ) เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด (รูปที่ ๓) รูปที่ ๓ เปรียบเทียบการขับเหงื่อและอัตราการหายใจมากหรือน้อยแตกต่างกันของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เมื่ออยู่ ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=