สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
173 ณรงค์ศั กดิ์ ชั ยบุตร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ สัตว์ (ถูกจัดอยู่ในรอบนอกของดุมล้อ) จะได้รับผลกระทบโดยตรงก่อนมาถึงมนุษย์ ผลกระทบจากปัจจัย ภายนอกต่อสัตว์และมนุษย์จึงไม่เท่ากันเพราะมนุษย์จะมีวิธีการจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว สัตว์เลือดอุ่นจะมีกลไกควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา แม้มีการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิสภาพแวดล้อม การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เป็นการท� ำให้เซลล์ต่าง ๆ ของอวัยวะ ภายในร่างกายท� ำงานเป็นปกติ การรักษาดุลระหว่างปริมาณความร้อนที่สร้างภายในร่างกาย และ กระบวนการระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายจะถูกควบคุมทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอกร่างกาย ปริมาณความร้อนที่สร้างขึ้นภายในร่างกายเกิดจากการท� ำงานตามปกติของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การท� ำงานของระบบย่อยอาหาร รวมทั้งความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ภายในร่างกาย ความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายจะมีผลกระทบต่ออุณหภูมิของร่างกายโดย ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ความ ร้อนจากภายนอกจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีการพา การน� ำความร้อนและจากการแผ่รังสีความร้อนจาก แสงอาทิตย์ท� ำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น รูปที่ ๑ แสดงดุลธรรมชาติที่เปรียบได้กับล้อที่ประกอบด้วยกงล้อที่ก� ำหนดให้เป็นสิ่งแวดล้อม ซี่ล้อที่ก� ำหนดให้ เป็นปัจจัยต่าง ๆ และแกนกลางดุมล้อคือตัวสัตว์และมนุษย์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก� ำหนดเป็นซี่ล้อจะมีความ เกี่ยวโยงกันและจะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อสัตว์และมนุษย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=