สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ซอฟต์แวร์ระบบส� ำหรั บแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่ อการเรี ยนรู้ 146 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ศ. ดร.มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณทิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ซอฟต์แวร์ระบบส� ำหรับแผงวงจร ไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้ บทคัดย่อ บทความนี้น� ำเสนอซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐานส� ำหรับแผงวงจร ไมโครคอนโทรลเลอร์ส� ำหรับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ผู้นิพนธ์เคยน� ำเสนอไปก่อนแล้ว วัตถุประสงค์หลักของระบบปฏิบัติการในที่นี้ก็เพื่ออ� ำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้แผงวงจรไมโคร คอนโทรลเลอร์ในการบรรจุโปรแกรมควบคุมการท� ำงานของส่วนฮาร์ดแวร์ลงในหน่วยความจ� ำแรม ของไมโครคอนโทรลเลอร์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลในโปรแกรม แสดงค่าของข้อมูลนั้น และ ด� ำเนินโปรแกรมทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนได้ ผู้นิพนธ์ได้เขียนซอฟต์แวร์ด้วยภาษาแอสเซมบลีส� ำหรับ ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 ของบริษัทอินเทล ซึ่งเมื่อแอสเซมเบิลและบันทึกลงในหน่วยความจ� ำรอม ของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งทดลองใช้งานแล้ว พบว่าทั้งแผงวงจรและซอฟต์แวร์ระบบ ท� ำงานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ค� ำส� ำคัญ : ไมโครคอนโทรลเลอร์, ไมโครโพรเซสเซอร์, ซอฟต์แวร์ระบบ, วงจรรวม 8088 * บรรยายในส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ บทน� ำ บทความประกอบการบรรยายของผู้นิพนธ์ในที่ประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ (มงคล เดชนครินทร์ ๒๕๕๕) ได้น� ำเสนอแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อการเรียนรู้ ซึ่งใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 ของบริษัทอินเทลเป็นส่วนประกอบหลัก บทความดังกล่าว ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ และให้โปรแกรมภาษาแอสเซมบลีที่จะใช้ทดสอบส่วนประกอบ ส่วนต่าง ๆ ในแผงวงจรที่สร้างขึ้น โดยที่โปรแกรมเหล่านั้นต้องถูกบรรจุลงในหน่วยความจ� ำรอม (ROM) ทุกครั้ง ก่อนที่จะทดสอบหรือทดลอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า บทความครั้งนั้นยังไม่ได้น� ำเสนอซอฟต์แวร์ ระบบ (system software) ที่จะใช้อ� ำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้แผงวงจรในการทดลองควบคุมการท� ำงาน ของฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้ต้องการบรรจุโปรแกรมส� ำหรับการควบคุมลงในหน่วยความจ� ำ แรม (RAM) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ และต้องการให้ด� ำเนินโปรแกรมจากหน่วยความจ� ำดังกล่าวได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=