สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

โรงไฟฟ้านิ วเคลี ยร์ : ทางเลื อกส� ำหรั บอนาคต 142 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ด้านพลังงานของประเทศด้วย ดังนั้นภาครัฐจะต้องมีแผนงานและทิศทางการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชัดเจนและต่อเนื่อง เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละโรงจะใช้เวลาในการด� ำเนิน การไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี นอกจากนี้ เทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ถือว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น การเตรียม บุคลากรทางด้านถังปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อรองรับจึงมีความจ� ำเป็นมาก ท้ายที่สุด คือความเข้าใจและความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน คือ ประชาชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ องค์กรเอกชน และหน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต ซึ่งควรที่จะต้องร่วมมือกันโดยปราศจากมายาคติ เนื่องจากแต่ละภาคส่วนจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน หากสามารถน� ำ ความคิดเห็นที่ปราศจากมายาคติของแต่ละภาคส่วนมาร่วมกันหาข้อสรุปเชิงบูรณาการก็จะท� ำให้เกิดความ รอบครอบในการตัดสินใจมากขึ้น ในอดีตภาคประชาชนโดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่ม มักถูกละเลยและไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินอนาคตของตนเองหากมีโครงการหรือกิจกรรมเกิดขึ้นในชุมชน ของตนเอง ดังนั้น เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ต้องการคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์บ� ำรุงรักษาและได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ (มาตรา ๖๗) จึงได้บัญญัติ มาตรา ๖๗ วรรค ๒ ไว้ว่า “การด� ำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระท� ำ มิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน” (พิชัย พืชมงคล ๒๐๐๙) รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการด� ำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อ เป็นการคุ้มครองสิทธิของภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินอนาคตของตนเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลที่ถูกและการยกระดับความรู้ความเข้าใจกับภาคประชาชนก็ยังเป็นสิ่งจ� ำเป็น เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีข้อมูลที่รอบด้านในการตัดสินอนาคตของตนเองโดยปราศจากการชักน� ำหรือ ชี้น� ำจากผู้หวังประโยชน์.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=