สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

141 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ (Saitama) และโตชิงิที่สามารถตรวจพบ I -๑๓๑ ในปริมาณน้อย คือ ๐.๑๔, ๐.๑๖ และ ๐.๕๔ เบคเคอเรล ต่อกิโลกรัม ตามล� ำดับ ไม่มีตัวอย่างใดที่มี Cs -๑๓๔ และ Cs -๑๓๗ อยู่ในระดับที่วัดได้ (ส� ำนักงานปรมาณู เพื่อสันติ ๒๕๕๕) สรุป พลังงานนิวเคลียร์จัดเป็นแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก ที่สุด การน� ำพลังงานนิวเคลียร์มาผลิตไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในอนาคตของประเทศไทย เพราะความ ต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะมากถึง ๕๒,๘๘๐ เมกะวัตต์ (ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ มี ความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ ๒๔,๐๐๐ เมกะวัตต์) โดยคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. ๒๕๗๓ ไทยจะต้องผลิตไฟฟ้า เป็นปริมาณ ๖๕,๕๔๗ เมกะวัตต์ ปัญหาที่ภาครัฐต้องค� ำนึงถึง คือ การหาแหล่งพลังงานมาผลิตไฟฟ้า ปัญหา ด้านความปลอดภัย ปัญหาสิ่งแวดล้อม การกระจายการใช้เชื้อเพลิงอย่างเหมาะสมเพื่อความมั่นคงด้าน พลังงานของประเทศ ดังนั้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งและได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาพลังงาน ไฟฟ้าของประเทศ ค.ศ. ๒๐๑๐ (พีดีพี ๒๐๑๐) โดยก� ำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ไว้ประมาณ ร้อยละ ๑๐ ของเชื้อเพลิงทั้งหมด แต่ปัจจัยเกื้อหนุนที่จะให้เกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีอยู่หลายประการคือ เทคโนโลยีที่ใช้ ความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบุคลากรรองรับ นโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐ ความพร้อม และความเข้าใจของทุกภาคส่วน การขจัดหรือจัดการกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน และความยอมรับจากประชาชน ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยนั้น จะเห็น ว่า การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้เข้าสู่รุ่นที่ ๔ และคาดว่าจะสามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ใน อีก ๒๐-๓๐ ปี ข้อเด่นของเครื่องปฏิกรณ์รุ่นนี้ คือ นอกจากจะให้ไฟฟ้าแล้วยังให้แก๊สไฮโดรเจนที่สามารถ น� ำไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้อื่น ๆ เช่น การผลิตน�้ ำจืดจากน�้ ำทะเล ระบบความ ร้อนให้บ้านเรือน ส่วนด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีทางด้านนิวเคลียร์รุ่นที่ ๔ จะมีความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงรวมถึงได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น อุบัติเหตุที่เกิดจากโรงไฟฟ้า เชอร์โนบิล ในประเทศรัสเซีย รวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยก็อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรวิชาชีพ ต่าง ๆ เช่น สมาคมวิศวกรรมเครื่องกลอเมริกัน ( American Society of Mechanical Engineers ) และ หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต ( Nuclear Regulatory Commission ; NRC ) โดยใช้การป้องกันเป็นหลัก ในการออกแบบและควบคุม เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออก สู่สิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังกล่าวข้างต้น พลังงานนิวเคลียร์จัดว่าเป็นพลังงานสะอาดและเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในกลุ่มของพลังงานทางเลือก ( alternative energy ) ดังนั้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้ดี รวมทั้งจะท� ำให้เกิดความมั่นคงทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=