สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
โรงไฟฟ้านิ วเคลี ยร์ : ทางเลื อกส� ำหรั บอนาคต 140 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 มีข้อโต้แย้งกันที่ส� ำคัญในวงการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการก� ำหนดระดับปริมาณรังสีต�่ ำที่สุด ( Low levels of radiation ) ที่จะท� ำให้เกิดอันตราย นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าต้องให้ต�่ ำที่สุด ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง เชื่อว่าไม่เพียงแต่ไม่ให้เกิดอันตรายเท่านั้น หากต้องสามารถน� ำไปปฏิบัติได้ นักวิทยาศาสตร์ไม่พบผลที่เกิด แก่การเปลี่ยนแปลงของยีนในเด็ก ๓๐,๐๐๐ คนที่เกิดจากพ่อแม่ที่ได้รับรังสีจากระเบิดปรมาณู แม้ว่าจะไม่เหมือนกันหมดทุกแห่ง แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ถือว่ามีสถิติของความปลอดภัยสูง อุบัติเหตุที่เกิดจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย ท� ำให้เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าเสียชีวิต ๒๘ คน เนื่องจากรังสี และ ๓ คนจากการระเบิดและไฟไหม้ ภายหลังมีเด็กเสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๙๙๕ อีก ๓ คน เนื่องจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ จากการศึกษาของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International atomic energy agency , IAEA ) ในค.ศ. ๑๙๙๑ และการศึกษาโดย Organization for economic co - operation and development ใน ค.ศ. ๑๙๙๕ สรุปว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากรังสีมากไปกว่านี้ (ส� ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ๒๕๕๕), (สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ๒๕๕๕) , (อรุณ วัครวโรทัย ๒๕๔๖ : ๔๖-๕๕) เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและ เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่สูงประมาณ ๖-๓๐ เมตร หน้ากว้างถึง ๑๘๐ กิโลเมตร พัดเข้าฝั่ง ท� ำความเสีย หายอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิท� ำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอคุมะ เขตฟุตะบะ จังหวัดฟุกุชิมะ ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียวได้รับความเสียหาย คือ แกนปฏิกรณ์ปรมาณูหลอมละลาย (ลงสู่ด้านล่างของเตา) ที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ ๑, ๒ และ ๓ และต่อมาเกิด การระเบิดของไฮโดรเจนขึ้น การระเบิดดังกล่าวไปท� ำลายส่วนหุ้มส่วนบนของอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่อง ปฏิกรณ์ที่ ๑ และ ๓ แรงระเบิดได้ท� ำลายอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ ๒ และเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงที่เครื่อง ปฏิกรณ์ที่ ๔ ท� ำให้ต้องอพยพผู้คนออกห่างโรงไฟฟ้าแห่งนี้ในรัศมี ๒๐ กิโลเมตรตามทิศทางที่กระแสลมพัด ผ่าน (พัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้า) ต้องใช้เวลาก� ำจัดสารพิษ รังสีที่รั่วไหลตามพื้นดิน กิ่งไม้ ใบหญ้า อาคารและสิ่งปลูกสร้างให้หมดสิ้นภายใน ๒๐ ปี ความเสียหายที่เกิดขึ้นท� ำให้รัฐบาลญี่ปุ่น ต้องตัดสินใจปิดโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั้งสิ้น ๕๔ แห่งไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ ผ่านมา (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ ๒,๗๔๒ วันที่ ๒๔-๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕) มีการเฝ้าระวัง ระดับความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในอาหาร โดยวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมด ๑๕๖ ตัวอย่าง ประกอบ ด้วยผักและผลไม้ต่าง ๆ อาหารทะเล นมสด และโยเกิร์ต จากชิบะ ฟุกุชิมะ กุนมะ อิบารากิ (Ibaraki) คะนะงะวะ (Kanagawa) มิยะกิ นะงะโนะ นิงาตะ (Niigata) ไซตะมะ (Saitama) โทะชิงิ (Tochigi) และ ยะมะงะตะ (Yamagata) ผลการวิเคราะห์พบว่าตัวอย่าง ๑๕๕ ชิ้น มีปริมาณ I -๑๓๑ , Cs- ๑๓๔ และ Cs- ๑๓๗ ต�่ ำกว่าค่าที่ทางการของญี่ปุ่นก� ำหนดว่าเป็นอันตราย และจากการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของ สารกัมมันตรังสีในน�้ ำประปา ตามรายงานของ MEXT มีเพียงน�้ ำประปา ๓ ตัวอย่างจากโตเกียว ไซตะมะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=