สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

139 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ คนทั่วไปมักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า มีเพียงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เท่านั้นที่ปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี ออกสู่สิ่งแวดล้อม แต่ความจริงแล้วโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกด� ำบรรพ์ เช่น ถ่านหินและน�้ ำมัน ปิโตรเลียม กลับปลดปล่อยกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจาก เชื้อเพลิงที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นถ่านหินหรือน�้ ำมันปิโตรเลียม จะมีสารกัมมันตรังสี (ไอโซโทปรังสีต่าง ๆ ใน วัตถุทุกอย่างในธรรมชาติ) แม้ว่าจะมีอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ แต่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกด� ำบรรพ์ ต้องใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวในปริมาณมากเมื่อ เทียบกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ดังนั้น กัมมันตภาพรังสี (ไอโซโทปรังสี) ที่ปลดปล่อยออกมาพร้อมกับแก๊สจาก โรงไฟฟ้าในแต่ละวันจะให้ปริมาณมากเช่นกัน การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้ายังมีสิ่งที่เข้าใจผิดกันอยู่มาก ซึ่งท� ำให้เป็นปัญหา ในสังคม ตัวอย่างเช่น ความไม่เข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิด ต่าง ๆ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มลพิษที่เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ เทคโนโลยีในการ ควบคุมและบ� ำบัดมลพิษที่เกิดขึ้น ท� ำให้มีการต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจาก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จ� ำนวนมากที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศในทุกวันนี้ ซึ่งมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ และน�้ ำมันปิโตรเลียม ในโรงไฟฟ้าในปัจจุบันจะเลวร้ายมากกว่านี้ถ้าเราใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์น่าจะเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่จะแก้ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ ปัญหาโลกร้อน เนื่องจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา นอกจาก นี้ยังไม่มีการปล่อยออกไซด์ของซัลเฟอร์หรือไนโตรเจนออกมา อันเป็นสาเหตุท� ำให้เกิดฝนกรด ซึ่งมี ผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน พลังงานนิวเคลียร์ปัจจุบันได้มาจากปฏิกิริยาฟิชชันของยูเรเนียมและพลูโทเนียม ซึ่งให้รังสีออก มาด้วยเช่นกัน หลายคนเชื่อว่า รังสีที่ให้ออกมานี้เป็นรังสีแบบใหม่แตกต่างจาก “ background radiation ” ซึ่งเป็นรังสีจากธรรมชาติที่เราได้รับในชีวิตประจ� ำวันจากดวงอาทิตย์ จากพื้นโลก จากภายในตัวเรา รังสี ปริมาณสูงเช่นที่มาจากระเบิดปรมาณูนั้นมีอันตรายมาก แต่ร้อยละ ๘๐ ของผู้ที่เสียชีวิตที่ฮิโรชิมาและ นะงะซากิ (Nagasaki) ประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ. ๑๙๔๕ มีสาเหตุมาจากเปลวไฟ ความร้อน และแรงคลื่น กระแทก ( blast ) ไม่ใช่รังสี ระดับรังสีที่ประชาชนได้รับจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต�่ ำกว่ารังสีจากระเบิดหลายพันเท่า ในการ ท� ำงานปรกติ รังสีที่ออกจากมาโรงไฟฟ้าน้อยยิ่งจนไม่สามารถวัดได้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รังสีที่ออก มาก็น้อยยิ่ง จนไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีประชาชนทั่วไปเสียชีวิตหรือไม่ อย่างเช่นรังสีที่รั่วไหลออกมาใน อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บนเกาะ Three Mile Island ประเทศสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. ๑๙๗๙ ซึ่งเป็น อุบัติเหตุใหญ่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ๓๗ ปีของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=