สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

โรงไฟฟ้านิ วเคลี ยร์ : ทางเลื อกส� ำหรั บอนาคต 138 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ชั้นที่ ๕ อาคารเครื่องปฏิกรณ์เป็นอาคารคลุมภายนอกที่เห็นเป็นหลังคาอาคารและผนังโดย รอบ ท� ำหน้าที่ป้องกันการแพร่กระจายสารกัมมันตรังสีออกสู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังท� ำหน้าที่ ป้องกันลม พายุ จากภายนอกอาคารด้วย (สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ๒๕๕๕) การจัดการกากกัมมันตรังสีและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ในการด� ำเนินการตามปกติ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบอื่น ๆ เพราะไม่มีการปล่อยของเสียออกขณะเดิน เครื่อง กากที่เกิดขึ้นจะอยู่ในแท่งเชื้อเพลิงจนกว่าจะถูกน� ำออกไป แต่คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพราะคิดว่ากากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีอายุยืนยาวและจะกระจายไปทั่ว ท� ำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีและอาจมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ จึงต้อง มีการจัดการที่เหมาะสม โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีปัจจุบัน การจัดการกากกัมมันตรังสีมักจะท� ำเป็น หลาย ๆ ระยะ เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และประหยัด กล่าวคือ กากที่อยู่ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในระยะ แรกมักปล่อยให้อยู่ในแท่งเชื้อเพลิงและเก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วนี้ไว้ในบ่อน�้ ำ ซึ่งอยู่ภายในตัวโรงไฟฟ้าเอง เพื่อให้สารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่สลายตัวหรือที่เรียกตามภาษาสามัญว่าปล่อยให้เย็นลง ขั้นตอนนี้เป็นการ เก็บกากกัมมันตรังสีไว้ภายใต้การดูแลที่เข้มงวดภายในโรงไฟฟ้าเอง ในระยะนี้ สารกัมมันตรังสีจะสลาย ตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากเก็บไว้ ๓ เดือน กัมมันตรังสีจะลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง พอถึง ๑ ปี กัมมันตรังสี จะลดลงไปถึงร้อยละ ๘๐ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ ๑๐ ปี จะสลายตัวไปแล้วถึงร้อยละ ๙๐ แต่ที่เหลือร้อยละ ๑๐ นั้น มีอายุยืนยาวเป็นพันปี จึงต้องเก็บอย่างถาวรด้วย เพื่อไม่ให้มีโอกาสเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ การเก็บ กากกัมมันตรังสีอย่างถาวรนั้น จนถึงบัดนี้ยังไม่มีผู้ใดปฏิบัติ เนื่องจากยังไม่ถึงเวลาอันควร แต่ก็ได้มีการ ศึกษา ออกแบบ และทดสอบกันมานานพอสมควรแล้ว จนสรุปว่าวิธีการที่แน่นอนที่สุดคือการเก็บไว้ใต้ดิน ในที่ซึ่งสภาพทางธรณีวิทยามีความคงตัวสูง และในประเทศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์แต่ละประเทศก็มัก พิจารณาเลือกสถานที่ในเบื้องต้นไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ๒๒ ทางเลือกที่อาจเป็นไปได้ในอนาคตคือการ ใช้ Nuclear fuel bank หรือธนาคารเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งต้องด� ำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ Government - to - Government โดยจะเป็นการจัดหาเชื้อเพลิงใหม่จากประเทศผู้จัดหา ( supplier ) และเมื่อเลิกใช้งานแล้ว ก็จะส่งกลับไปยังประเทศผู้จัดหานั้น (ซึ่งอาจจะมีนโยบายฝังเก็บหรือสกัดซ�้ ำ) ดังนั้น ถ้าประเทศไทยจะเลือก ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคต ก็ควรจะเริ่มดูพิจารณาสถานที่เก็บกากถาวรภายในประเทศ ด้วยว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร และควรจะเตรียมตัวท� ำอะไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนอุ่นใจว่า ถ้าจะมีกาก กัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นแล้วจะมีที่เก็บที่ปลอดภัยและประชาชนยอมรับได้ โดยปรกติแล้วสถานที่ ที่ประเทศต่าง ๆ เลือกไว้ มักจะมีสภาพธรณีวิทยาที่เป็นชั้นหินแกรนิตหรือเป็นเหมืองเกลือ ประเทศไทย เราอาจเลือกเป็นชั้นดินเหนียวหรือดินดานหรือหินแบบอื่นก็ได้ แต่อาจจะต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจากที่เคย ท� ำมาแล้วในประเทศอื่น (สถาบันด� ำรงราชานุภาพ ส� ำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒๕๕๕), (สมาคมนิวเคลียร์แห่ง ประเทศไทย ๒๕๕๕)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=