สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
137 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ สถานที่ก่อสร้าง ขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนขณะที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ขั้นตอนการทดสอบเดินเครื่องที่ ก� ำลังต�่ ำ และสุดท้ายขั้นตอนการเดินเครื่องเต็มก� ำลัง ในแต่ละขั้นตอน ผู้ออกแบบต้องมั่นใจว่าการปฏิบัติ งานมีความปลอดภัย นอกจากนี้ หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต ( Nuclear Regulatory Commission ; NRC ) จะตรวจสอบกระบวนการแต่ละอย่างและประเด็นในการขออนุญาต โดยจะอนุญาตเป็นรายประเด็นตาม ความก้าวหน้าของงาน เมื่อไม่นานมานี้ NRC ได้ทบทวนมาตรฐานอุตสาหกรรมและได้ออกข้อก� ำหนดฉบับ ใหม่ มาตรฐานที่ออกโดย NRC มีฐานะเทียบเท่ากับกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้เชื่อมั่นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ ก่อสร้างใหม่ทุกโรงจะมีกระบวนการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (ส� ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ๒๕๕๕), (สมาคมนิวเคลียร์ แห่งประเทศไทย ๒๕๕๕) มาตรการด้านความปลอดภัยนั้นมีความส� ำคัญสูงสุด กล่าวคือ จะใช้การป้องกันเป็นหลัก และ ใช้เป็นพื้นฐานส� ำคัญในการออกแบบด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยจะออกแบบให้มี โครงสร้างถึง ๕ ชั้น ที่ท� ำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกสู่สิ่ง แวดล้อม คือ ชั้นที่ ๑ เม็ดเชื้อเพลิง ท� ำจากธาตุยูเรเนียม หรือพลูโทเนียม ทนความร้อนได้สูง ๒,๘๐๐ องศาเซลเซียส ชั้นที่ ๒ ปลอกหุ้มเชื้อเพลิง ท� ำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความร้อนจากเม็ดเชื้อเพลิงให้แก่ ตัวท� ำให้เย็นของระบบถ่ายโอนความร้อน ป้องกันไม่ให้ตัวท� ำให้เย็นสัมผัสกับเม็ดเชื้อเพลิงและเก็บกักสาร กัมมันตรังสีมิให้รั่วไหลออกจากเม็ดเชื้อเพลิงมาปะปนกับตัวท� ำให้เย็น ปลอกหุ้มเชื้อเพลิงนี้ท� ำจากโลหะ ผสมเซอร์โคเนียม ซึ่งมีสมบัติทนความร้อนสูง ต้านการกัดกร่อนได้ดี ชั้นที่ ๓ ภาชนะบรรจุแกนเครื่องปฏิกรณ์ เป็นอุปกรณ์ที่บรรจุแกนเครื่องปฏิกรณ์โดยมี ตัวท� ำให้เย็น ซึ่งเป็นตัวท� ำหน้าที่รับและพาความร้อนจากเม็ดเชื้อเพลิงส่งผ่านทางปลอกหุ้มเชื้อเพลิงไป ถ่ายโอนให้ระบบผลิตไอน�้ ำร้อน ภาชนะบรรจุแกนเครื่องปฏิกรณ์นี้สามารถกักเก็บสารกัมมันตรังสีมิให้ออก สู่ภายนอก ท� ำจากโลหะไร้สนิมหนาประมาณ ๑๕๐ - ๒๒๐ มิลลิเมตร นอกจากนี้ก็มีก� ำแพงคอนกรีตก� ำบัง รังสีชนิดพิเศษที่ผสมด้วยโลหะและวัตถุหลายชนิดอยู่ล้อมรอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ท� ำหน้าที่ก� ำบังรังสี แกมมาและนิวตรอนพลังงานสูงที่สามารถวิ่งทะลุออกจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้ ชั้นที่ ๔ ระบบอาคารควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ท� ำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของสาร กัมมันตรังสีต่อจากภาชนะบรรจุแกนเครื่องปฏิกรณ์มิให้ออกสู่ภายนอกบริเวณโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และสามารถรองรับแรงดันสูง ๆ ได้ในกรณีที่อุบัติเหตุรุนแรง นอกจากนี้ ยังสามารถต้านทานแรงกระท� ำจาก ภายนอก เช่น แผ่นดินไหว ลมพายุ น�้ ำท่วม เครื่องบินชนหรือตกใส่ การโจมตีทางอากาศด้วยระเบิดหรือ ขีปนาวุธได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยผนัง ๓ ชั้น มีความหนาทั้งสิ้น ๑.๓๐ เมตร ชั้นในเป็นแผ่นเหล็กกล้า หนาประมาณ ๖ มิลลิเมตร ชั้นกลางเป็นคอนกรีตอัดแรง ชั้นนอกเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพื้นอาคาร หนาไม่ต�่ ำกว่า ๓ เมตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=