สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
135 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ น� ำเข้าพลังงานเป็นส่วนใหญ่ก็มีการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๑๔ ของพลังงาน ทั้งหมดที่ใช้ผลิตไฟฟ้า เมื่อมามองประเทศไทยซึ่งมีแหล่งทรัพยากรทางด้านพลังงานค่อนข้างจ� ำกัด คงต้อง มองว่าในอนาคตเมื่อแก๊สธรรมชาติของประเทศหมดลง จะหาแหล่งพลังงานใหม่ชนิดใดมาทดแทน แน่นอน ที่สุด ประเทศในแถบเอเชียคงจะเลือกใช้ถ่านหินเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้าเนื่องจากมีปริมาณส� ำรองทั่วโลก สามารถใช้ได้อีก ๒๐๐ ปี กระนั้นก็ตาม เมื่อความต้องการถ่านหินมีมากขึ้น อ� ำนาจการต่อรองจากผู้ซื้อก็ จะน้อยลง และราคาน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น การหาแหล่งพลังงานอื่น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานหมุนเวียน พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล หรือพลังงานนิวเคลียร์ น่าจะมีน�้ ำหนักมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องค� ำนึง ถึงก็คือ ความเสถียรในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่กล่าวข้างต้น รวมไปถึงความสามารถในการผลิต หากพิจารณาแล้วเห็นว่า คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าแล้ว ก็ควรมี การวางแผน เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละโรงจะต้องใช้เวลาไม่ต�่ ำกว่า ๑๐ ปีในการก่อสร้าง รวมไป ถึงการเตรียมบุคลากรเพื่อท� ำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว ดังนั้น หากพิจารณาความต้องการใช้ไฟฟ้า ของประเทศและการใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ ในการผลิตไฟฟ้าดังแสดงในรูปที่ ๙ จะเห็นได้ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๕๙ มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง ๒๕๐,๐๐๐ ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยมีค� ำถามว่าพลังงานประมาณร้อยละ ๓๕ ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ผลิตไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานชนิดใด เมื่อต้องค� ำนึงถึงราคาและความมั่นคงของ ประเทศ ทุกภาคส่วนควรจะให้ความสนใจร่วมกันคิดและตัดสินใจบนพื้นฐานของอุดมคติ กล่าวคือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการคือ โรงไฟฟ้า องค์กรเอกชน ( NGO ) นักวิชาการ และประชาชน ควรท� ำหน้าที่ของตนอย่าง เปิดเผยและโปร่งใสปราศจากมายาคติหรือผลประโยชน์แอบแฝง เช่น ภาครัฐในฐานะผู้ก� ำกับนโยบายและ บังคับใช้กฎหมายรวมถึงส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ กับสังคมควรจะมีความพร้อมและท� ำงานเชิงรุกเพื่อ วางแผนระยะยาวของประเทศว่า อนาคตทางด้านพลังงานของประเทศจะมีทิศทางอย่างไร และเตรียมความ พร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับองค์กรเอกชนในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง ในการด� ำเนินงานเพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้รับความเป็นธรรมในสังคมโดยปราศจากมายาคติ ผลประโยชน์แอบแฝง หรือเลือกข้าง ส่วนนักวิชาการในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้และเป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการ ของทุกภาคส่วน ควรเป็นกลางในการให้ข้อมูลทั้งด้านบวกและด้านลบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการอย่าง รอบด้าน โดยปราศจากความเห็นแก่ตัวและต้องชี้น� ำให้ทุกภาคส่วนได้ใช้ข้อมูลที่บริสุทธิ์ดังกล่าวในการ ตัดสินใจและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประกอบการก็ควรจะมีความคิดในการด� ำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่อง ของสังคมและสิ่งแวดล้อม ควรมีความคิดรับผิดชอบต่อสังคม ( corporate social responsibility ; CSR ) การ เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ( appropriate technology ) ส่วนภาคประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงและ เป็นกลุ่มที่ควรจะได้รับความสนใจและดูแล ไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์จากบุคคลบาง กลุ่ม ดังนั้นภาคประชาชนควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องทุกด้านจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ องค์การเอกชน และ นักวิชาการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินหรืออนาคตของตนเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=