สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

133 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ๑. แผนระยะสั้น เมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนแหล่งพลังงาน เช่น ในปัจจุบันพลังงานจาก แหล่งพลังงานที่มาจากซากดึกด� ำบรรพ์ ( fossil fuel ) มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งเริ่มขาดแคลน ทุกภาคส่วนควร มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่า จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร เมื่อพิจารณาความต้องการเชื้อเพลิงและการ ใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย (รูปที่ ๗) พบว่า ประเทศที่ก� ำลังพัฒนา เช่น ไทย มาเลเซีย พม่า เวียดนาม ยังต้องพึ่งพาแก๊สธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก เนื่องจากสามารถ ผลิตได้เองในประเทศ ในขณะที่จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย พึ่งพาถ่านหินเป็นส่วนใหญ่ เพราะประเทศเหล่า นี้มีถ่านหินส� ำรองในปริมาณมาก (http://www.bp.com ), (ส� ำนักนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน ๒๕๕๕), (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ๒๕๕๕) รูปที่ ๗ การใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ของประเทศในเอเชีย (http://www.bp.com ) แต่ปริมาณแก๊สธรรมชาติส� ำรองในอ่าวไทยที่ประเทศไทยจะใช้ได้นั้น มีอยู่ไม่เกิน ๑๐ ปี ดังนั้น สิ่งที่ควรจะพิจารณา คือการหาแหล่งพลังงานอื่นมาทดแทนในการผลิตไฟฟ้าในระยะสั้นควรเป็นอะไร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=