สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
7 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, แทนตา จั นทร์วุ่น, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ รูปแบบการไหลของน�้ ำในบึงประดิษฐ์และการป้อนน�้ ำเสียเข้าสู่บึงประดิษฐ์ การไหลของน�้ ำในบึงหรือพื้นที่ชุ่มน�้ ำ หรือบึงประดิษฐ์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ คือ การ ไหลของน�้ ำในแนวนอน (horizontal flow: HF) และ แนวยืน (vertical flow: VF) (T. Saeed & G. Sun 2012, 429-448) ดังนั้น การจัดรูปแบบการไหลของน�้ ำในบึงประดิษฐ์ สามารถเลือกใช้เป็นรูปแบบใดก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมหรือจะเลือกใช้ทั้ง ๒ รูปแบบผสมผสานกันก็ได้ ส่วนการป้อนน�้ ำเสียเข้าสู่บึงประดิษฐ์ นั้นมีอยู่ ๓ แบบ ดังนี้ ๑. การไหลแบบตามกัน (Plug flow) เป็นการป้อนน�้ ำเสียแบบไหลตามกัน โดยให้น�้ ำเสียที่ป้อน เข้าไปใหม่ไล่น�้ ำเสียเดิมไปเป็นทอด ๆ ดังที่แสดงในรูปที่ ๓ ก การไหลแบบนี้นิยมใช้กับบึงประดิษฐ์ขนาด เล็กและน�้ ำเสียมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์ต�่ ำ ๒. การเติมน�้ ำเสียแบบเป็นขั้น (Step feed) นิยมใช้กับระบบบึงประดิษฐ์ที่มีอัตราส่วนความยาว ต่อความกว้างเป็นค่าสูง ๆ เช่น อัตราส่วน ๑๐ : ๑ และการป้อนน�้ ำเสียเข้าสู่บึงมีหลายจุด ดังแสดงในรูปที่ ๔ ข ส่งผลให้น�้ ำเสียที่เข้ามาในบึงกระจายอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการเกิดสภาพที่บึงรับภาระบรรทุกมลพิษ จุดใดจุดหนึ่งสูงเกินไป ท� ำให้ประสิทธิภาพในการบ� ำบัดน�้ ำเสียประเภทนี้สูงกว่าประเภทการไหลแบบตาม กัน แต่ข้อเสียของบึงประเภทนี้ก็คืองบประมาณค่อนข้างสูง ๓. การหมุนเวียนน�้ ำกลับเข้าสู่ระบบ (Recirculation) เป็นระบบที่มีการหมุนเวียนน�้ ำเสียที่ผ่าน การบ� ำบัดแล้วกลับเข้าสู่ระบบเพื่อช่วยในการลดปริมาณสารอินทรีย์และของแข็งแขวนลอยที่เข้ามาในบึง ดังแสดงในรูปที่ ๓ ค ข้อดีของวิธีการดังกล่าวคือลดปัญหากลิ่นเนื่องจากปริมาณออกซิเจนละลายน�้ ำจะสูง ขึ้น ท� ำให้เกิดปฏิกิริยาไนทริฟิเคชัน (nitrification) แต่การหมุนเวียนน�้ ำกลับเข้าสู่ระบบมีงบประมาณใน การก่อสร้างและดูแลระบบสูงเนื่องจากต้องควบคุมปริมาณน�้ ำที่ต้องสูบกลับ และระยะพักน�้ ำที่เหมาะสม Recycle ก. แบบตามกัน (Plug Flow) ข. แบบเป็นขั้น (Step Feed) ค. แบบหมุนเวียนน�้ ำกลับ (Recirculation) รูปที่ ๔ รูปแบบการไหลของน�้ ำในระบบบึงประดิษฐ์ (กรมควบคุมมลพิษ-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕๕๖)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=