สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
โรงไฟฟ้านิ วเคลี ยร์ : ทางเลื อกส� ำหรั บอนาคต 132 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 พลังงานนิวเคลียร์ก็เช่นเดียวกันและยังเป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษอีกด้วย เมื่อพิจารณาอย่าง ผิวเผิน การเลือกใช้ถ่านหินอาจจะง่ายกว่าการเลือกใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพราะดูจะไม่น่ากลัวเท่าพลังงาน อย่างหลังในด้านความปลอดภัย แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาระที่ตามมานั้นมีมาก จึงจ� ำเป็นต้อง ตัดสินใจอย่างรอบคอบบนพื้นฐานทางวิชาการที่พิสูจน์ได้และปราศจากมายาคติดังกล่าวข้างต้น ถ่านหินนั้น เมื่อเผาไหม้แล้วจะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งท� ำให้เกิดภาวะเรือนกระจก มีผลท� ำให้บรรยากาศ ของโลกร้อนขึ้น เป็นผลกระทบไปทั่วโลก และอาจท� ำให้เกิดอุทกภัย คือ น�้ ำทะเลท่วมสูงบริเวณชายฝั่ง พืชและสัตว์หลายชนิดอาจสูญพันธุ์ ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จึงได้ตกลงกันที่เมือง ริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าจะไม่เพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และจะพยายามลดให้น้อยลงหากเป็นไปได้ ดังนั้น การมีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นน�้ ำมันปิโตรเลียมและ แก๊สธรรมชาติ รวมไปถึงพลังงานชีวมวล ก็จะปล่อยแก๊สเรือนกระจกชนิดนี้ออกมาในปริมาณสูง จะท� ำให้การ จัดการเรื่องแก๊สเรือนกระจกเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงข้างต้นนั้นยากขึ้นหรือเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าชนิดนี้ยังปล่อยแก๊สที่ท� ำให้เพิ่มสภาพความเป็นกรดในสิ่งแวดล้อม คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ ไนโตรเจนออกไซด์ และมีโลหะหนัก ขี้เถ้า และฝุ่นละอองอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ ของคนและสัตว์ อีกทั้งยังมีผลเสียต่อพืชด้วย จึงต้องก� ำจัดและปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าให้น้อยที่สุดเท่าที่ จะท� ำได้ ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นดูเสมือนว่าจะน่ากลัวกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินมากในด้านความปลอดภัย หากมีการด� ำเนินการที่ไม่เหมาะสม เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงที่มีผลกระทบสูงได้ เช่น อุบัติเหตุ ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในประเทศรัสเซีย ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุระดับนั้นเกือบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เลยแก่โรงไฟฟ้ารุ่นที่ใช้ในโลกตะวันตกในปัจจุบันก็ตาม แต่ประชาชนโดยทั่วไปยังโยงความคิดระหว่าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับอุบัติเหตุเชอร์โนบิล หรือระเบิดปรมาณูเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท� ำให้บดบังข้อดี ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในส่วนที่ท� ำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต�่ ำและท� ำให้ควบคุมแก๊สเรือนกระจก (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ได้ง่ายขึ้นออกไป เรื่องความเข้าใจและการยอมรับของประชาชนก็เป็นประเด็น ที่ส� ำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีประเด็นของนโยบายและการออกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ความเป็นไปได้ในการจัดการกากกัมมันตรังสี ภายในประเทศ การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ฯลฯ (สถาบัน ด� ำรงราชานุภาพ ส� ำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒๕๕๕), (ส� ำนักงานปรมาณูเพืี่อสันติ ๒๕๕๕), (อรุณ อัครวโรทัย และคณะ ๒๕๓๘ : ๓๖-๔๕) อนึ่ง หากพิจารณาการจัดการเกี่ยวกับการจัดหาและใช้พลังงานของประเทศ เราควรพิจารณา ด� ำเนินการเป็น ๒ ระยะคือ ระยะสั้น (ปัจจุบัน) และ ระยะยาว (อนาคต) โดยต้องค� ำนึงถึงปัจจัยทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ความปลอดภัย และสุขภาพของประชาชน ควบคู่กันไป จะเลือกพิจารณาด้าน ใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรจะได้ร่วมกันคิดและให้ความเห็นเชิงบูรณาการ ที่ปราศจากมายาคติ เพื่อตัดสินใจร่วมกันบนพื้นฐานอุดมคติ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=