สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

131 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๖ รัฐบาลได้ประกาศที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขนาดก� ำลัง ๒๐๐๐ MWe ใน ค.ศ. ๒๐๒๐ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. ๒๐๐๘ คาดว่า จะเริ่มการก่อสร้างใน ค.ศ. ๒๐๑๑ โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับเกาหลีใต้ ความ ต้องการใช้ไฟฟ้าของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ใน ค.ศ. ๒๐๑๐ มีอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ๑.๕ เท่า ของ ค.ศ. ๒๐๐๓ พลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่งได้มาจากพลังน�้ ำ และประมาณร้อยละ ๒๕ ได้มาจากแก๊สธรรมชาติ เวียดนามมีเครื่องปฏิกรณ์ ๑ เครื่องอยู่ที่ Da Lat โดยมีรัสเซียเป็นที่ปรึกษา พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เมื่อพิจารณาความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า พบว่าความต้องการ ใช้ไฟฟ้าจะมีมากถึง ๕๒,๘๘๐ เมกะวัตต์ (ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ ๒๔,๐๐๐ เมกะ วัตต์) ซึ่งหมายความว่าไทยจะต้องจัดหาไฟฟ้าเพิ่มจากที่ใช้ในปัจจุบันอีก ๒๘,๘๘๐ เมกะวัตต์ และเมื่อนับ ปริมาณส� ำรองไฟฟ้าอีกจ� ำนวนหนึ่งที่ต้องตระเตรียมไว้ ไทยจะต้องผลิตไฟฟ้าใน พ.ศ. ๒๕๗๓ เป็นปริมาณ ๖๕,๕๔๗ เมกะวัตต์ ปัญหาที่ตามมาคือจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าอีกนับ ๑๐ โรง จึงจะผลิตไฟฟ้าให้ได้ตาม ความต้องการใช้ที่จะเกิดขึ้นนี้ ประกอบกับปัจจุบันเกิดกระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จน ส่งผลให้ประชาชนไม่ไว้ใจการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงโรงไฟฟ้าด้วย ดังนั้น การ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม การเลือกก่อสร้างโรงไฟฟ้า ดังกล่าว ท� ำไปโดยค� ำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมผสมผสานควบคู่กันไปด้วยและได้เน้นการกระจายการใช้เชื้อ เพลิงอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้พึ่งพาแหล่งพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อความ มั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคตได้ จะเห็นได้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้บรรจุไว้ ในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ค.ศ. ๒๐๑๐ (พีดีพี ๒๐๑๐) โดยก� ำหนดสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า ไว้ประมาณร้อยละ ๑๐ ของเชื้อเพลิงทั้งหมด ด้วยเหตุปัจจัยที่ว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยแก๊สเรือนกระจก เลย อีกทั้งสามารถผลิตได้ปริมาณมากเพียงพอที่จะเป็นไฟฟ้าฐานให้แก่ประเทศได้ ในขณะที่การจัดหาแก๊ส ธรรมชาติของประเทศมีแนวโน้มต้องน� ำเข้าเพิ่มมากขึ้น ด้วยราคาที่สูงกว่าการผลิตภายในประเทศ ที่ส� ำคัญ ก็คือต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังต�่ ำกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่น ซึ่งจะท� ำให้ประชาชนไม่ ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงในอนาคต (สถาบันด� ำรงราชานุภาพ ส� ำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒๕๕๕) ในช่วงที่ผ่านมา การผลิตไฟฟ้านั้นใช้แหล่งเชื้อเพลิงภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น พลังน�้ ำ ถ่านหิน (ลิกไนต์) แก๊สธรรมชาติ ปัจจุบันแหล่งพลังงานในประเทศเริ่มลดลง ส่งผลให้ต้องน� ำเข้าพลังงาน มากขึ้น เช่น การน� ำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การน� ำเข้าแก๊สธรรมชาติหรือถ่านหิน เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตคงจะเหลือทางเลือกหลักอยู่ ๒ ทางที่ต้องตัดสินใจคือ น� ำเข้าถ่านหินหรือ น� ำเข้าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือทั้ง ๒ อย่าง ทั้งนี้เพราะปริมาณถ่านหินส� ำรองของโลกมีอยู่มากกว่า ๒๐๐ ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=