สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
127 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ปัจจุบันเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอยู่ถึง ๑๐๙ โรง กระจายอยู่ใน ๖ ประเทศ และมีอีก ๑๘ โรงที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีอีก ๔๐ โรง ที่มีแผนการก่อสร้างอย่างแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบชายฝั่งแปซิฟิก นอกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย ( research reactor ) อีก ๕๖ เครื่อง ใน ๑๔ ประเทศ ยกเว้น ๒ ประเทศที่ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยเลย คือ สิงคโปร์กับนิวซีแลนด์ (ส� ำนักงานปรมาณู เพื่อสันติ ๒๕๕๕) ก. ประเทศญี่ปุ่น (ส� ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ๒๕๕๕) ญี่ปุ่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (รูปที่ ๓, ๔) ที่เดิน เครื่องผลิตไฟฟ้าอยู่ ๕๕ โรง (๔๘ GWe ) อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก ๒ โรง และอยู่ในแผนที่จะก่อสร้าง ๑๑ โรง (๑๗ GWe ) นอกจากนี้ยังมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการวิจัยอีก ๑๗ เครื่อง ญี่ปุ่นผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นร้อยละ ๒๙ โดยสัดส่วนใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ใน ค.ศ. ๒๐๐๖ ดังที่แสดงในรูปที่ ๕ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลัง ค.ศ. ๒๐๑๕ เพื่อให้เป็นไปตาม สนธิสัญญาเกียวโต ( Kyoto Protocol ) และในระยะยาว การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์จะมีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ๒ เท่า (๙๐ GWe ) หลัง ค.ศ. ๒๐๕๐ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องปฏิกรณ์รุ่นที่ ๓ ซึ่งได้รับ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยแล้ว เครื่องปฏิกรณ์เครื่องแรกเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้แก่ระบบ ใน ค.ศ. ๑๙๖๖ ญี่ปุ่นได้ท� ำสัญญาในการน� ำเชื้อเพลิงใช้แล้วมาสกัดซ�้ ำ ( reprocessing ) เพื่อแยกยูเรเนียม กับพลูโทเนียมกลับมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยท� ำให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม ( mixed - oxide fuel ) ส� ำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบธรรมดาและเครื่องปฏิกรณ์แบบนิวตรอนเร็ว ( fast neutron reactor ) ใน ค.ศ. ๒๐๐๓ มีเครื่องปฏิกรณ์จ� ำนวนมากที่ต้องดับเครื่องเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อท� ำการตรวจสอบ หลังจากนั้นจึงเริ่มเดินเครื่องใหม่ ใน ค.ศ. ๒๐๐๕ ญี่ปุ่นมีเครื่องปฏิกรณ์ทดสอบแบบอุณหภูมิสูง ( high temperature test reactor ) ซึ่งใช้อุณหภูมิได้สูง ๙๕๐ องศาเซลเซียส พอที่จะใช้ผลิตไฮโดรเจน ด้วยปฏิกิริยาเคมีความร้อน คาดว่า ใน ค.ศ. ๒๐๕๐ จะมีการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ความร้อนจากพลังงาน นิวเคลียร์ ๒๐ GWe โรงงานแรกในเชิงพาณิชย์จะเข้าสู่ระบบ ใน ค.ศ. ๒๐๒๕ อนึ่ง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกูชิมะ เมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๑ อันเนื่องมาจากสึนามิ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้า ท� ำให้ แผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกระงับและเปลี่ยนแปลงไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=