สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
123 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, อั ฎฐารจ ชาวชน, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ในยุคที่ ๓ นี้มีการพัฒนาเตาปฏิกรณ์ต่อจากยุคที่ ๒ โดยกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น�้ ำ ( light water reactor ; LWR ) ผู้ผลิตได้พัฒนาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รูปแบบใหม่ ๆ ออกมา ทั้งที่เป็นแบบน�้ ำความ ดันสูงและแบบน�้ ำเดือด เช่น บริษัท Westinghouse ได้พัฒนาระบบ advanced pressurized water reactor ( APWR ) ขึ้นมา โดยออกแบบระบบความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุจากแกนปฏิกรณ์หลอมละลายใน ชื่อว่า System 80+ ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ได้น� ำไปปรับปรุงเพื่อสร้างปฏิกรณ์รุ่นใหม่ของตนเอง เตาปฏิกรณ์ PWR ของบริษัท Westinghouse เอง คือ AP-600 มีจุดเด่นคือ มีระบบความ ปลอดภัยที่สามารถป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุด้วยหลักธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากระบบเดิมที่อาศัย การรักษาความปลอดภัยโดยพึ่งพากลไกและวงจรไฟฟ้ารวมทั้งมนุษย์ผู้ควบคุม ปัจจุบันประเทศจีนก� ำลัง ด� ำเนินการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัท Westinghouse คือ AP-1000 และคาดว่าจะสามารถ ใช้งานได้ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ BWR ก็ได้รับการปรับปรุงด้านความปลอดภัย และระยะเวลาในการ ก่อสร้างเช่นกัน โดยมีชื่อเรียกว่า advanced boiling water reactor ( ABWR ) รุ่นใหม่ ๆ เช่น ABWR ที่ ออกแบบโดยบริษัท General Electric ซึ่งก� ำลังสร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในชื่อรุ่น GE ESBWR ( economic simplified boiling water reactor ) ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ CANDU ซึ่งประเทศแคนาดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและผูกขาดการผลิต ก็ได้ พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีขึ้นเช่นกัน โดยใช้น�้ ำมวลหนักเป็นสารระบายความร้อน และพัฒนาจากรุ่น CANDU-6 เป็น CANDU-9 นอกจากนี้ CANDU-9 ยังมีปฏิกรณ์ที่พัฒนารูปแบบขึ้นไปอีกคือ advanced CANDU reactor ( ACR ) รุ่นล่าสุดที่น� ำมาใช้งานคือ ACR-1000 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงาน ความร้อนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศอินเดียได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อจะพัฒนาปฏิกรณ์ใน ระบบนี้เช่นกัน ส่วนในกลุ่มของสหภาพยุโรป ( EU ) ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีก็ร่วมมือกัน พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เรียกว่า European pressurized water reactor ( EPR ) โดยปรับปรุง จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ PWR ซึ่งเป้าหมายส� ำคัญของการพัฒนาคือเรื่องความปลอดภัยเช่นกัน โดยต้องการลดความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติภัยรุนแรงลงเป็น ๑ ต่อ ๑๐ และจ� ำกัดความเสียหายที่อาจ จะเกิดขึ้นได้ให้อยู่ภายในเขตของโรงงานเท่านั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภายนอก ๔. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่ ๔ (4 th generation nuclear reactor) เครื่องปฏิกรณ์รุ่นที่ ๔ เป็นระบบที่อยู่ในช่วงการพัฒนา อาจจะเรียกว่าเป็นอนาคตส� ำหรับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ คาดการณ์กัน ว่าน่าจะสามารถใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลา ๒๐-๓๐ ปี ข้างหน้า ถือว่าเป็นการปฏิวัติการออกแบบ เครื่องปฏิกรณ์และระบบเชื้อเพลิงโดยสิ้นเชิง โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในรุ่นนี้มีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับ รุ่น ๓+ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ที่นอกจากจะให้ไฟฟ้าแล้วยังให้แก๊สไฮโดรเจนที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=