สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ดวงดาวตามความเชื่ อของมนุษย์ 118 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ชื่อไอน์สไตน์น� ำไปตั้งเป็นชื่อดาวเทียมรุ่นแรก ๆ ชื่อดาวเทียมไอน์สไตน์ เพื่อส� ำรวจแหล่งก� ำเนิด รังสีเอกซ์พลังงานสูงที่เกิดจากหลุมด� ำและดาวนิวตรอน ชื่ออื่นของดาวเทียมไอน์สไตน์ คือ HEA0-2 ขึ้น สู่อวกาศจากแหลมคานาเวอรัล เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๗๘ เข้าสู่วงโคจรรอบโลกที่ความสูง ๕๐๐ กิโลเมตร ด้วยระนาบวงโคจรเอียง ๒๓.๕ องศา ส่วนนิวตันปรากฏเป็นชื่อดาวเทียมขององค์การอวกาศยุโรปเพื่อส� ำรวจแหล่งก� ำเนิดรังสีเอกซ์ ดาวเทียมดวงนี้มีชื่อว่าเอกซ์เอ็มเอ็มนิวตัน (XMM-Newton : X-ray Multi-Mirror Newton) องค์การ อวกาศยุโรป (ESA) ส่งขึ้นอวกาศเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๙ วงโคจรเป็นวงรีมากโดยมีระยะไกลโลก ที่สุด ๑๑๔,๐๐๐ กิโลเมตร และระยะใกล้สุด ๗,๐๐๐ กิโลเมตร วงโคจรเอียง ๔๐๐ กับระนาบศูนย์สูตร และมีคาบ ๔๘ ชั่วโมง ได้รับการขยายปฏิบัติงานไปถึง ค.ศ. ๒๐๑๘ ดาวเทียม เอกซ์เอ็มเอ็มนิวตัน http://space.skyrocket.de/doc_sdat/xmm.htm ภาพรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงวาบ รังสีแกมมา จีอาร์บี ( ภาพจาก ESA and Simon Vaughan (University of Leicester) นักดาราศาสตร์นับตั้งแต่โคเพอร์นิคัสเป็นต้นมาได้ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาข้อเท็จ จริงเกี่ยวกับดวงดาว มั่นใจได้ว่าดวงดาวไม่ใช่เทพเจ้าหรือเทพธิดาบนสวรรค์ มีข้อมูลมหาศาลที่สนับสนุน และช่วยอธิบายความเชื่อมโยงของดวงดาวซึ่งเป็นสรรพสิ่งในเอกภพที่สังเกตได้ แต่ยังมีปัญหาบางอย่างที่ ยังหาค� ำตอบไม่พบ เป็นต้นว่าพลังงานมหาศาลที่ท� ำให้เอกภพขยายตัว รวมทั้งสสารที่ท� ำให้กาแล็กซียังคง รักษาสมาชิกที่อยู่รอบนอกไว้ได้ ค� ำตอบจึงด� ำมืดตามที่บอกว่า “พลังงานมืด” คือพลังงานที่ท� ำให้เอกภพ ขยายตัว และ “สสารมืด” คือสสารที่ท� ำให้กาแล็กซีรักษาสมาชิกที่อยู่รอบนอกไว้ได้ โดยไม่ทราบแน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้คืออะไร จึงเป็นหน้าที่ของนักดาราศาสตร์ที่จะหาค� ำตอบต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=