สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ดวงดาวตามความเชื่ อของมนุษย์ 116 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ภายหลังการวัดระยะห่างและสเปกตรัมของกาแล็กซีจึงท� ำให้ทราบว่ากาแล็กซีอยู่ไกลกันมาก และเคลื่อนที่ห่างออกจากกัน ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกัน ค้นพบว่ากาแล็กซียิ่งอยู่ไกลยิ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เป็นการบอกให้ทราบว่าเอกภพก� ำลังขยายตัว ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐฯ เดียวกันที่ก่อก� ำเนิดเป็นระบบสุริยะ เนบิวลานี้เกิดจากการระเบิดและการจบชีวิตของดาวฤกษ์รุ่นแรก ๆ ส่วนประกอบทุกส่วนของร่างกายของเราจึงมาจากดาวฤกษ์รุ่นก่อน ๆ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทางอวกาศช่วยให้นักดาราศาสตร์ มีข้อมูลเกี่ยวกับดวงดาวมากขึ้นอย่างมหาศาล ท� ำให้เกิดความเชื่อ ว่าเอกภพก� ำเนิดเมื่อ ๑๓,๗๐๐ ล้านปีมาแล้ว จากเหตุการณ์ที่ เรียกว่า บิกแบง (Big Bang) เป็นเหตุการณ์ที่พลังงานทั้งเอกภพ เริ่มเปลี่ยนเป็นสสาร ตามสมการของไอน์สไตน์ E = mc2 เมื่อ E เป็นพลังงานและ m เป็นมวลสาร c เป็นอัตราเร็วของแสง สมการ เดียวกันนี้ใช้อธิบายว่า ดาวฤกษ์ผลิตพลังงานและส่องแสงได้ อย่างไร ท� ำให้มนุษย์เข้าใจและเห็นความส� ำคัญของดาวฤกษ์มากยิ่ง ขึ้น โดยเฉพาะธาตุต่าง ๆ ล้วนอุบัติขึ้นจากวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ทั้งสิ้น ดาวฤกษ์รุ่นก่อน ๆ จึงมีคุณูปการต่อระบบสุริยะของเราเป็น อย่างยิ่ง เพราะธาตุทุกธาตุที่มีในโลกและในตัวเรามีอยู่ในเนบิวลา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มนุษย์สมัยก่อนเชื่อว่าดวงดาวเป็นเทพเจ้าและเทพธิดา อยู่บนสวรรค์ ปัจจุบันความเชื่อของเราเปลี่ยนไป มนุษย์ตระหนัก ว่าเอกภพกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก ดาวฤกษ์ที่เรามองเห็นด้วยตา เปล่าล้วนอยู่ใกล้เราเพราะอยู่ในกาแล็กซีของเรา หรือกาแล็กซี ทางช้างเผือกซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์เป็นแสนล้านดวง ใน จ� ำนวนนี้น่าจะมีดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ ของเรา มีบริวารที่เป็นดาวเคราะห์แบบโลก บัดนี้ นักดาราศาสตร์ ได้พยายามค้นหาดาวเคราะห์แบบโลกในระบบดาวฤกษ์อื่น แม้ ยังไม่พบดาวเคราะห์แบบโลก คงพบดาวเคราะห์ยักษ์แบบดาว พฤหัสบดีเป็นส่วนใหญ่ การส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๙๕ เมตรที่ชื่อว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เคปเลอร์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๙ เพื่อค้นหา ดาวเคราะห์แบบโลก จึงเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะพิสูจน์ ว่ามนุษย์ไม่อยู่โดดเดี่ยวในกาแล็กซีของเรา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=