สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
115 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ความเชื่อของมนุษย์ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับดวงดาวเกิดจากความเชื่อที่ถูกต้องของ โคเพอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ที่เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบที่มีโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง โคจรรอบดวงอาทิตย์ ผู้สนับสนุนโคเพอร์นิคัสคนส� ำคัญคือ กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ใช้หลัก กาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดา อยู่ห่าง ๒.๔ ล้านปีแสง การทางวิทยาศาสตร์สังเกตดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ ท� ำให้ พบข้อมูลที่เป็นไปตามความเชื่อของโคเพอร์นิคัส ในสมัย เดียวกันนั้น เคปเลอร์ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันก็ค้นพบ กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ซึ่งอธิบายได้ ในเวลาต่อมาตามกฎแรงโน้มถ่วงของ นิวตัน นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ นิวตันเชื่อว่าแอปเปิลตกลงสู่พื้น และดวงจันทร์ โคจรรอบโลกต่างเคลื่อนที่ภายใต้แรงประเภทเดียวกันที่เรียก ว่าแรงโน้มถ่วง มนุษย์เข้าใจระบบของดาวฤกษ์ที่เรียกว่า กาแล็กซีว่าเป็นระบบของดาวฤกษ์จ� ำนวนหลายแสนล้านดวง เคลื่อนที่รอบแก่นที่มีแรงโน้มถ่วงสูงยิ่ง นักดาราศาสตร์เชื่อ ว่าเป็นหลุมด� ำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole) ที่มี แรงโน้มถ่วงสูงยิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี ระบบสุริยะ อยู่ที่แขนของกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งมีกาแล็กซีเพื่อนบ้าน หลายแห่ง เพื่อนบ้านที่ใหญ่มากและอยู่ใกล้ที่สุดคือ กาแล็กซี แอนโดรเมดา ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา กาแล็กซีไม่อยู่โดดเดี่ยวแต่อยู่เป็นกระจุก หลาย ๆ กระจุกประกอบขึ้นเป็นกระจุกขนาดใหญ่ของกาแล็กซี (super cluster) ทุกกระจุกขนาดใหญ่ของกาแล็กซีรวมกัน เป็นเอกภพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=