สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

113 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ดวงอาทิตย์เป็นดาวประจ� ำชั่วโมงที่ ๒๒ ดาวศุกร์เป็นดาวประจ� ำชั่วโมงที่ ๒๓ ดาวพุธเป็นดาวประจ� ำชั่วโมงที่ ๒๔ ดวงจันทร์เป็นดาวประจ� ำชั่วโมงที่ ๒๕ ชั่วโมงที่ ๒๕ หลังวันอาทิตย์คือชั่วโมงแรกของวันต่อจากวันอาทิตย์ ดังนั้น วันถัดจากวันอาทิตย์ จึงเป็น วันจันทร์ ถ้าด� ำเนินการใส่ดาวประจ� ำชั่วโมงตามวงบรรจบข้างต้น เราจะได้ล� ำดับชื่อวันเป็น อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ การเรียงล� ำดับชื่อวันที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่า หากมนุษย์เชื่อโดยตระหนักตามความเป็นจริงว่าโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวง อาทิตย์ ด้วยการพาดวงจันทร์ไปด้วย จะท� ำให้ระยะห่างระหว่างโลกกับดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่คงที่ แต่ จะมีระยะใกล้ที่สุดระหว่างโลกและดาวเคราะห์ตามระบบโคเพอร์นิคัสเป็นดังต่อไปนี้ ระยะระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ตามระบบโคเพอร์นิคัส ดังนั้นระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดาวศุกร์เป็น ๐.๓ หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดาวอังคารเป็น ๐.๕ หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดาวพุธเป็น ๐.๖ หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เป็น ๑.๐ หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดาวพฤหัสบดีเป็น ๔.๐ หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกกับดาวเสาร์เป็น ๙.๐ หน่วยดาราศาสตร์ ท� ำให้วงบรรจบการเรียงล� ำดับดาวจากไกลมาใกล้ ๗ ดวง เป็นดังรูปต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=