สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

107 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ความเชื่อของมนุษย์ในยุคที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ในอดีตมนุษย์เชื่อว่า ท้องฟ้าคือ สวรรค์ ดวงดาวเป็นเทพเจ้าหรือเทพธิดา ดาวเคราะห์โบราณ เป็นเทวดาที่อยู่ใกล้โลก ที่เหลือเป็นเทวดาที่อยู่ไกลโลก พวกที่อยู่ใกล้โลกเคลื่อนที่รอบโลก ๒ ลักษณะ คือ เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกรอบละ ๑ วัน เป็นลักษณะหนึ่ง และเคลื่อนรอบโลกช้า ๆ จาก ตะวันตกไปตะวันออกด้วยความเร็วที่แตกต่างกันอีกลักษณะหนึ่ง แต่เทวดาที่อยู่ไกลเคลื่อนรอบโลกลักษณะ เดียว คือ จากตะวันออกไปตะวันตกรอบละ ๑ วันเท่านั้น มนุษย์เคารพและย� ำเกรงเทวดาที่อยู่ใกล้ ๆ ๗ ดวงอย่างยิ่ง เพราะเชื่อว่าดาวเหล่านี้คือ ดาวที่มี อิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของคนบนโลก นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดจากดวงจันทร์กับดวง อาทิตย์ คือ สุริยุปราคา (ดวงอาทิตย์มืดมิดในเวลากลางวัน) และจันทรุปราคา (ดวงจันทร์เพ็ญมืดมัวลงใน เวลากลางคืน) ท� ำให้คนโบราณคิดไปว่าต้องมีเทวดาที่มองไม่เห็น อีก ๒ องค์อยู่ใกล้โลกด้วย นั้นคือที่มาของ เทพราหูและเทพเกตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ ปัจจุบันเราทราบดีว่าราหูคือจุดตัดของทางโคจรของดวง จันทร์กับระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขณะดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบขึ้นไปทางเหนือของ ระนาบ ส่วนเกตุคือจุดที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบลงไปใต้ระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ รูปแสดงระนาบทางโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเอียงเป็นมุม ๕° ๘’ กับระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จุดราหู (โหนดขึ้น) จุดเกตุ (โหนดลง) เมื่อรวมราหูกับเกตุจึงท� ำให้มีจ� ำนวนเทวดาใกล้โลกเป็น ๙ องค์ หรือ ๙ ดวง และได้ชื่อว่าเป็น ดาวเคราะห์โบราณ ๙ ดวง หรือดาวนพเคราะห์ ซึ่งได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=