สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ดวงดาวตามความเชื่ อของมนุษย์ 106 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 บทน� ำ ดวงดาวในที่นี้หมายถึง ดาวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าของโลก ได้แก่ ดาวที่เป็นต้น ก� ำเนิดชื่อวัน หรือดาววันเกิด ๗ ดวง และที่เหลือเป็นดาวประจ� ำที่ซึ่งปรากฏเรียงกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ดาว วันเกิดคือ ดวงอาทิตย์ เห็นในเวลากลางวัน ดวงจันทร์ เห็นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน บางวันที่ท้องฟ้า แจ่มใสและแสงไม่จ้ามาก ดาวอังคาร เห็นกลางคืน มีสีแดง ดาวพุธ เห็นเวลาใกล้รุ่งทางตะวันออกหรือหัวค�่ ำ ทางตะวันตก ดาวพฤหัสบดี เห็นกลางคืนสว่างมากรองจากดาวศุกร์ ดาวศุกร์สว่างรองจากดวงจันทร์ เห็น ทางตะวันออกเวลาย�่ ำรุ่ง เรียกว่าดาวรุ่ง หรือเห็นทางตะวันตกเวลาหัวค�่ ำเรียกว่าดาวประจ� ำเมือง และดาว เสาร์เห็นเวลากลางคืนที่ปรากฏสว่างน้อยกว่าดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องใด ๆ มักเปลี่ยนไปเสมอตามทฤษฎีที่ค้นพบใหม่ ในยุคโบราณก่อน สมัยของโคเพอร์นิคัส (ค.ศ. ๑๔๗๓-๑๕๔๓) ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าโลกไม่ใช่ดาว โลกอยู่กับที่ โลกเป็น ใหญ่ เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความคิดและความเชื่อของนักปราชญ์รุ่นก่อน ๆ โดยฉพาะ อาริสโตเติล (๓๘๔-๓๒๒ ปีก่อน ค.ศ.) ชาวกรีกที่สอนว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (geocentric) บุคคล ส� ำคัญผู้เผยแพร่และเชื่อตามอาริสโตเติลคือ ทอเลมี (ค.ศ. ๙๐-๑๖๘) ระบบที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจึงได้ ชื่อว่า ระบบทอเลมี มนุษย์ยุคนั้นเชื่ออย่างที่ตามองเห็น ดวงดาวอยู่ห่างโลกต่าง ๆ กัน จึงจ� ำแนกดวงดาว บนฟ้าได้เป็น ๒ พวก คือ พวกที่อยู่ใกล้โลก ๗ ดวง เป็นดาวพเนจร (planets) และพวกที่อยู่ไกลเป็นดาว ประจ� ำที่ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันมนุษย์มีความเชื่อเกี่ยวกับดวงดาวแตกต่างจากอดีตเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว มนุษย์อธิบายได้ว่าดาวฤกษ์ส่องแสงได้อย่างไร ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีบริวารเป็นดาวเคราะห์ และเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จ� ำนวนแสนล้านดวงที่ อยู่เป็นระบบได้ด้วยแรงโน้มถ่วงซึ่งนิวตันเป็นผู้ค้นพบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง กาแล็กซีขนาด ใหญ่เพื่อนบ้านของเราคือ กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซีอยู่เป็นกระจุก หลาย ๆ กระจุกกลายเป็น กระจุกขนาดใหญ่ ทุกกระจุกขนาดใหญ่รวมกันเป็นเอกภพ กาแล็กซีที่อยู่ไกลเคลื่อนที่ห่างออกไปด้วย ความเร็วสูง บอกให้ทราบว่าเอกภพก� ำลังขยายตัว เทคโนโลยีอวกาศช่วยให้มนุษย์ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับดวงดาวมากขึ้น มีการค้นพบ ดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ในระบบอื่นเป็นจ� ำนวนมาก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ ดาวฤกษ์ และเอกภพมากขึ้น พร้อมกับมีปัญหาใหม่ที่จะต้องศึกษา คิดค้นหาค� ำตอบกันต่อไปบนพื้น ฐานของความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์ ค� ำส� ำคัญ : อาริสโตเติล, ทอเลมี, ระบบทอเลมี, ระบบโคเพอร์นิคัส
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=