สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

105 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ดวงดาวตามความเชื่อของมนุษย์ * นิพนธ์ ทรายเพชร* ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ มนุษย์เชื่อว่า ท้องฟ้าคือสวรรค์เป็นที่อยู่ของเทวดา ดวงดาว จึงเป็นเทวดา โดยมีดาวนพเคราะห์เป็นเทวดาที่อยู่ใกล้และมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนบนโลก ส่วน ดาวฤกษ์คือเทวดาที่อยู่ไกล ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อของพวกกรีกโบราณน� ำโดยอาริสโตเติล (๓๘๔- ๓๒๒ ปี ก่อน ค.ศ.) ที่เชื่อว่าโลกอยู่กับที่ดวงดาวเคลื่อนรอบโลก โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (geocentric) บุคคลส� ำคัญผู้เผยแพร่และเชื่อตามอาริสโตเติล คือ ทอเลมี (ค.ศ. ๙๐-๑๖๘) ระบบ ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจึงได้ชื่อว่า ระบบทอเลมี มนุษย์ยุคนั้นเชื่ออย่างที่ตามองเห็น กล่าวคือ ดาวนพเคราะห์เป็นเทวดาที่อยู่ใกล้และมองเห็นด้วยตาเปล่า ๗ องค์ เคลื่อนรอบโลกไปทางตะวัน ออกด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน ส่วนดาวฤกษ์เคลื่อนรอบโลกไปด้วยกันจากตะวันออกไปตะวันตกอย่าง เดียว การสังเกตดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ ๗ ดวงว่าเคลื่อนที่รอบโลกไปทางตะวันออกด้วยความเร็วแตก ต่างกันท� ำให้สรุปได้ว่า ระยะห่างของเทวดาเหล่านี้ จากใกล้ไปไกล คือ พระจันทร์ พระพุธ พระศุกร์ พระอาทิตย์ พระอังคาร พระพฤหัสบดี และพระเสาร์ ผลที่ตามมาคือ การเรียงล� ำดับชื่อวันในสัปดาห์ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากปรับระยะห่างของดาวเคราะห์จากโลกให้ถูกต้องกว่านี้จะเป็นล� ำดับจาก ใกล้ไปไกลคือ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แล้ว ล� ำดับชื่อวันจะป็นอย่างอื่น (อาทิตย์ ศุกร์ พฤหัสบดี อังคาร เสาร์ พุธ จันทร์) ความเชื่อของมนุษย์ในปัจจุบันที่เชื่อว่าโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่เคลื่อนที่รอบดวง อาทิตย์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ยกเว้นดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก จึงเรียกระบบสุริยะที่มีดวง อาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (heliocentric) นี้ว่า ระบบโคเพอร์นิคัส ตามความเชื่อของโคเพอร์นิคัส (ค.ศ. ๑๔๗๓-๑๕๔๓) เป็นระบบที่ได้จากการเปลี่ยนความเชื่อที่ถูกต้องกว่า สามารถพิสูจน์ได้ตามกฎเกณฑ์ ทางวิทยาศาสตร์ มีนักดาราศาสตร์ผู้มีความเชื่อตามโคเพอร์นิคัสอีกหลายคนเช่น กาลิเลโอ (ค.ศ. ๑๕๖๔-๑๖๔๒) เคปเลอร์ (ค.ศ. ๑๕๗๑-๑๖๓๐) นิวตัน (ค.ศ. ๑๖๔๒-๑๗๒๗) ที่ศึกษาและพัฒนา ความคิดนี้มาโดยล� ำดับ ท� ำให้ทราบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์พร้อมระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ ในหน่วยดาราศาสตร์ (AU) คือ ดาวพุธ (๐.๔) ดาวศุกร์ (๐.๗) โลก (๑.๐) ดาวอังคาร (๑.๕) ดาว พฤหัสบดี (๕.๐) และดาวเสาร์ (๑๐.๐) ดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไม่ใช่เทวดาอยู่บน สวรรค์อย่างที่มนุษย์โบราณเชื่อแต่อย่างใด * บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ วันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=