สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บึ งประดิ ษฐ์กั บการบ� ำบั ดน�้ ำเสี ย 4 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ๓. พืช พืชที่ใช้หรือขึ้นในระบบบึงประดิษฐ์นั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับลักษณะของน�้ ำเสีย พืชใน บึงประดิษฐ์ (กรมควบคุมมลพิษ-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕๕๖) นอกจากจะเป็นที่ยึดเกาะ ของจุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนจากบรรยากาศสู่รากพืช นอกจากนี้ ราก พืชจะเป็นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์ท� ำให้บริเวณรอบ ๆ รากฝอยเกิดฟิล์มชีวภาพ (bio-film) ซึ่งมีบทบาทใน การก� ำจัดโลหะหนักและสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายยาก เนื่องจากบริเวณรากพืชจะมี rhizosphere จับตะกอน โลหะหนักไว้ โดยที่ความสามารถในการดูดซับและเปลี่ยนรูปของโลหะหนักจะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ หนัก โลหะหนักจะถูกดูดซับกักเก็บไว้ในพืช และถูกลดความเป็นพิษลง หรือก� ำจัดโดยกระบวนการทาง ชีวเคมีของพืช (จักราพิชญ์ อัตโน และประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์ ๒๕๕๖) พืชที่ใช้ในระบบบ� ำบัดแบบบึงประดิษฐ์ มี ๓ ประเภท คือ ๓.๑ พืชลอยน�้ ำ (Floating plant) พืชลอยน�้ ำมีตัวอย่างเช่น ผักแว่น ผักบุ้ง จอก แหน ผักตบชวา ดังแสดงในรูปที่ ๑ และตารางที่ ๔ พืชลอยน�้ ำจะช่วยลดความเร็วลมเพิ่มออกซิเจนให้แก่แหล่งน�้ ำ และเป็นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ๓.๒ พืชโผล่เหนือน�้ ำ (Emergent plant) พืชโผล่เหนือน�้ ำมีตัวอย่างเช่น บัว กระจับญี่ปุ่น ดังแสดงในรูปที่ ๒ และตารางที่ ๔ ส่วนที่อยู่เหนือน�้ ำของพืชท� ำหน้าที่ลดความเข้มของแสงที่จะส่องสู่ผิวน�้ ำ เพื่อลดการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) ช่วยลดความเร็วลมเพื่อป้องกันการแขวนลอย ของตะกอน ช่วยในการสะสมสารอาหาร และส่วนของพืชที่อยู่ใต้น�้ ำมีบทบาทในการลดความเร็วของ กระแสน�้ ำ ลดการฟุ้งกระจายของตะกอนใต้น�้ ำ ช่วยกรองตะกอนขนาดใหญ่ เพิ่มอัตราการตกของตะกอน พื้นที่ผิวของพืชใต้น�้ ำจะเป็นส่วนที่ให้จุลินทรีย์ยึดเกาะเกิดเป็นฟิล์มชีวภาพ (bio-film) ช่วยดูดซับสาร อาหารในน�้ ำเสีย และปลดปล่อยออกซิเจนออกมาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ ระบบรากของ พืชในชั้นตะกอนใต้น�้ ำยังท� ำให้ยึดตะกอนใต้น�้ ำไม่ให้ถูกกัดเซาะได้ง่าย และปล่อยออกซิเจนเพิ่มปฏิกิริยา รูปที่ ๑ ลักษณะของพืชลอยน�้ ำ (กรมควบคุมมลพิษ-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕๕๖)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=