สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
99 ใจนุช จงรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ รูปที่ ๕ ภาพรังสีแนวหน้าหลัง แสดงการท� ำลาย เห็นเป็นเงาโปร่งรังสี (ศรชี้) ของปุ่มกระดูก และมีกระดูกตาย (สัญลักษณ์รูปดาว) จะเห็นได้ว่าการรักษา BRONJ จ� ำเป็นต้องมีความร่วมมือของทั้งแพทย์และทันตแพทย์ รวมทั้ง ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องเข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างดี จึงจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ บทความนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ ไม่เห็นด้วยกับการใช้กลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต เนื่องจากทราบดีถึงความจ� ำเป็น และประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ เพียงแต่ต้องการให้ข้อมูลของ BRONJ เพื่อเตือนให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า การป้องกันมิให้เกิด BRONJ ย่อม ดีกว่าการรักษา ทันตแพทย์มีบทบาทส� ำคัญอย่างมากในการป้องกัน (Migliorati et al. 2005: 1658-1668) ซึ่งท� ำได้โดยการซักประวัติผู้ป่วยก่อนเริ่มงานทันตกรรมและหลีกเลี่ยงงานที่ท� ำให้เกิดแผลในช่องปาก ผู้ป่วยให้ประวัติการได้รับยาต่อแพทย์และทันตแพทย์ แพทย์และทันตแพทย์ร่วมมือกันในการรักษา เป็นต้น นอกจากนี้ การศึกษาภาพรังสีรอบรากฟัน และภาพรังสีปริทัศน์ (Rizzolo and Sedrak 2009: 48-52) ซึ่งสะดวก ราคาไม่สูง รวมทั้งปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับก็ไม่สูงมากเท่า CT หรือ Cone beam CT โดย ละเอียดของผู้ป่วยที่เคยได้รับบิสฟอสโฟเนตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการฉีด ถ้ากระดูกเบ้ารากฟันบริเวณ นั้นหนา โดยมีกระดูกถัดออกมารอบ ๆ หนาตัว ( sclerosis ) ขอบเปลือกกระดูกไม่เรียบ หลังการถอนฟัน แม้ว่ายังไม่ปรากฏอาการ ก็ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิด BRONJ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=