สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บิ สฟอสโฟเนตและการตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน 96 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 รายงานผู้ป่วย ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ ๗๓ ปี ได้รับการส่งต่อจากคลินิกเอกชนมายังโรงพยาบาลทันตกรรมมหา จักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อท� ำการรักษาแผลกระดูกตายที่ปุ่มกลาง เพดานปาก ( torus palatinus ) ผู้ป่วยเล่าประวัติว่า เคยรักษาโรคกระดูกพรุนโดยการกินยา fosamax เป็น เวลา ๓ ปี เมื่อ ๖ เดือนที่ผ่านมามีกระดูกตายเป็นหย่อม ๆ ตรงปุ่มกลางเพดานปากซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ผู้ป่วยจึงได้รับเข้ารักษาที่แผนกศัลยศาสตร์ และได้ส่งตัวมารับการถ่ายภาพรังสี เพื่อศึกษารายละเอียดต่อ ไป ผู้ป่วยได้รับการถ่ายภาพรังสีปริทัศน์ ( panoramic radiograph ) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ตามรูปที่ ๑ จาก นั้นจึงถ่ายภาพรังสี Cone beam CT โดยเครื่อง Mercuray จากการตรวจในช่องปากร่วมกับภาพรังสีปริทัศน์ พบปุ่มกลางเพดานปากที่มีขนาดใหญ่มาก กินเนื้อที่เพดานปากเกือบทั้งหมดนั้นมีลักษณะขรุขระ ไม่มีเยื่อเมือก ( mucosa ) ปกคลุม แต่มีกระดูกตาย สีคล�้ ำโผล่เป็นแห่ง ๆ ภาพรังสีปริทัศน์ (ตามรูปที่ ๑) แสดงให้เห็นฟันหน้าบนและล่างที่เหลืออยู่เพียง บางซี่ ฟันเหล่านี้สึกและมีกระดูกละลายจากโรคปริทันต์ ฟันหลังล่างทั้งขวาและซ้ายถูกถอนนานแล้ว ไม่พบการละลายของกระดูกขากรรไกรล่างจากการอักเสบ ฟันกรามบนขวาถูกถอนเหลือเพียงซี่สุดท้าย ซึ่งมีโรคปริทันต์ ฟันกรามน้อยบนขวาผุเหลือแต่เศษราก เช่นเดียวกับฟันกรามบนซ้ายซี่สุดท้าย ไม่พบ เงาทึบรังสีของปุ่มกลางเพดานปากอย่างที่ควรพบทั้งที่มีขนาดใหญ่ รูปที่ ๑ ภาพรังสีปริทัศน์แสดงกระดูกและฟันในปาก แต่ไม่เห็นเงาทึบรังสีของปุ่มกลางเพดานปาก เนื่องจากถูกท� ำลายไปมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=