สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

95 ใจนุช จงรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ หลักการส� ำคัญคือต้องไม่ท� ำงานศัลยกรรมทุกชนิดในช่องปากหรืองานที่ท� ำให้เกิดการกระทบ กระเทือนต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการถอนฟัน การแต่งกระดูก การขูดหินปูน การท� ำศัลยปริทันต์ และการใส่รากเทียม หรือแม้แต่การท� ำ mini srew ในงานทันตกรรมจัดฟัน (Olutayo et al. 2010: e3) หากผู้ป่วยมีแผลลึกจนเห็นกระดูก อาจต้องใช้ removable appliances ที่มี periodontal pack ปิดไว้เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกและอาจช่วยให้แผลปิด (Garcia-Ferrer et al. 2008: 949-55) ในราย ที่มีการปวด หรือมีการติดเชื้อร่วมด้วย อาจศัลยกรรมแต่งแผลได้ตามความจ� ำเป็น ( surgical debridement ) และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin , cephalosporin , clindamycin รวมทั้งน�้ ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ ยาฆ่าเชื้อ ( antiseptic mouthwash ) เช่น Chlohexidine cluconate ] (Carter et al. 2005: 413-15) อาจสรุปคร่าว ๆ ให้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของทันตแพทย์ได้ว่า ๑. หากผู้ป่วยทันตกรรมก� ำลังจะได้รับการรักษาด้วยบิสฟอสโฟเนต ทันตแพทย์ท� ำการตรวจ อย่างละเอียด ขูดหินปูน ขัดฟัน อุด ถอน และใส่ฟัน ตามความจ� ำเป็นให้เรียบร้อย แล้วแพทย์จึงเริ่มการให้ บิสฟอสโฟเนต จากนั้นผู้ป่วยต้องกลับมาให้ตรวจ ดูแลสุขภาพช่องปากเป็นระยะอย่างสม�่ ำเสมอ ในขณะ เดียวกัน ก็ต้องหลีกเลี่ยงการถอนและใส่ฟัน ๒. เตรียมการและให้การรักษา คล้ายข้อ ๑ คือ การตรวจอย่างละเอียด ขัดฟัน อุด ส่วนงาน ปริทันต์ท� ำได้เพียง non surgical periodontics เช่นเดียวกับงานรักษาคลองรากก็ท� ำได้เพียง nonsurgical endodontic ถ้าใส่ฟันปลอมอยู่แล้ว ควรตรวจสอบมิให้แน่นหรือหลวมเกินไปเพราะจะเกิดแผลได้ แนะน� ำ ให้ผู้ป่วยดูแลความสะอาดของฟันปลอมด้วย ถ้าจ� ำเป็นต้องท� ำงานทันตกรรมที่เกิดแผล ควรหยุดบิสฟอสโฟ เนตก่อน ประมาณ ๓ เดือน (The American Dental Association Council on Scientific Affairs JADA 2006: 1140-50) และต้องปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจรักษาอยู่เดิม ๓. หากผู้ป่วยทันตกรรมได้รับการรักษาด้วยบิสฟอสโฟเนตมาแล้ว และเกิด BRONJ แล้ว การรักษาที่ดีที่สุดคือ palliative treatment ไม่ควรขูดกระดูกตายออกมาก เพราะอาจจะยิ่งท� ำให้การตาย ลุกลามมากขึ้น อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า แผลที่เกิดนี้อาจจะไม่สามารถหายได้ แต่จะช่วยได้ด้วยการดูแล สุขภาพช่องปาก อาจพิจารณาใช้ Chlorhexidine mouth wash (๐.๑๒%) บ้วนปากสามเวลา และให้ ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น (The American Dental Association Council on Scientific Affairs JADA 2006: 1140-50) ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ Amoxycilllin ๕๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๓ เวลา ๑๔ วัน หากผู้ป่วยแพ้เพนิซิลลินก็ใช้ Clindamycin ๓๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๓ เวลา ๑๔ วัน หรือ Azithromycin ๒๕๐ มิลลิกรัม วันละ ๑ เวลา ๑๔ วัน จากนั้นผู้ป่วยต้องกลับมาให้ตรวจ ดูแลสุขภาพ ในช่องปากเป็นระยะอย่างสม�่ ำเสมอ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องหลีกเลี่ยงการถอนฟัน ใส่ฟัน และทันตกรรม รากเทียม (Cheng et al. 2005: s4 - s13)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=