สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บิ สฟอสโฟเนตและการตายของกระดูกขากรรไกรบางส่วน 94 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 3 July-Sep 2013 ๒. มีประวัติการเป็นมะเร็ง เช่น multiple myeloma หรือมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่กระดูก กระดูกพรุน โรคพาเจ็ต หรืออื่น ๆ ที่มีข้อบ่งชี้ให้ใช้บิสฟอสโฟเนต รวมทั้งในรายที่ได้รับสเตียรอยด์ ๓. มีประวัติการได้รับบิสฟอสโฟเนต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยวิธีฉีด จะเห็นได้ว่าอาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยคือปวดขากรรไกร เคี้ยวหรือแปรงฟันล� ำบาก ปวดฟัน เหมือนมีพยาธิสภาพปลายราก จากนั้นมีกระดูกโผล่ บางรายมีการอักเสบแผลถอนฟันไม่หาย กระดูกตาย มีหนองไหล อาการทางคลินิกเหล่านี้คล้ายการอักเสบและกระดูกตายอันเนื่องจากการฉายรังสี รวมทั้ง ภาพรังสีและ image อื่นก็คล้ายกันด้วย กล่าวคือ ปรากฏเงาโปร่งรังสีของแผลถอนฟันไม่หาย ( nonhealing extracted socket ) กระดูกเบ้ารากฟันบริเวณนั้นหนา ( thickening of lamina dura ) โดยมีกระดูกถัดออก มารอบ ๆ หนาตัว ( sclerosis ) ขอบเปลือกกระดูกไม่เรียบ ( cortical surface irregularities ) อาจมี inferior alveolar canal แคบลง ( inferior alveolar canal narrowing ) (Chiandussi et al. 2006: 236-243) จาก นั้นก็มีเงาทึบรังสีของกระดูกตาย ( sequestration ) เป็นหย่อม ๆ สลับกับเงาโปร่งรังสีที่แสดงการละลาย ของกระดูก ยิ่งพยาธิสภาพขยายบริเวณขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งท� ำให้การรักษาและการควบคุมโรคท� ำได้ยากขึ้น บางรายเกิดขากรรไกรหักตามมา ลักษณะภาพรังสีเหล่านี้สามารถพบได้จากภาพรังสีรอบรากและภาพ รังสีปริทัศน์ (panoramic) (Marx 2005: 1567-75), (Treister et al. 2009: 88-92) CT (Marx et al. 2005: 1567-75), (Milillo et al. 2007: 603-11), (Bianchi et al. 2007: 249-58), (Olutayo et al. 2010: e3) ตลอดทั้ง MRI (Garcia-Ferrer et al. 2008: 949-55) แต่เนื่องจากภาพรังสีรอบรากและภาพรังสีปริทัศน์ มักจะถูกน� ำมาใช้บ่อยอยู่แล้วในการวินิจฉัยโรคในช่องปาก ดังนั้น โอกาสที่จะตรวจพบ BRONJ ระยะ เริ่มต้นโดยภาพรังสี ๒ ชนิดนี้ และโดยทันตแพทย์ ก็มีมากขึ้น จึงได้มีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระยะ แรกของขากรรไกร ทั้งนี้เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะถอนฟันหรือท� ำงาน ศัลยกรรมซึ่งจะท� ำให้เกิดการตายของกระดูกและท� ำให้การรักษายุ่งยาก เมื่อตรวจพบผู้ป่วย BRONJ ควรท� ำอย่างไร ก่อนอื่นพึงระลึกว่า ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการใดเพียงวิธีเดียวที่จะรักษา BRONJ อย่างได้ผล (Chiandussi et al. 2006: 236-243), (Treister et al. 2009: 88-92), (Milillo et al. 2007: 603-11), (Bianchi et al. 2007: 249-58) ขั้นตอนแรกเมื่อรับผู้ป่วยที่มีปัญหาแผลในช่องปากไม่หาย ( non healing oral wound ) ก็คือซักประวัติทางการแพทย์และทันตแพทย์อย่างละเอียด รวมทั้งประวัติการใช้ยาด้วย เพื่อให้วินิจฉัยและ วางแผนการรักษาได้ถูกต้อง ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและคอ รวมทั้งใน รายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ( immune compromised ) ก็อาจมีแผลหายช้าเช่นกัน การรักษาผู้ป่วย BRONJ ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างแพทย์กับทันตแพทย์ ในการวางแผนการ รักษาร่วมกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=