สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

93 ใจนุช จงรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ มีรายงานว่า การเกิดกระดูกขากรรไกรตายบางส่วน พบในผู้ป่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือดด� ำมากกว่าจาก การกิน ตัวอย่างชื่อยาบิสฟอสโฟเนตที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ๑. ชนิดกิน Actonel ( Risendronate ), Bonivia ( Ibandronate ), Fosamax ( Alendronate ), Skelid ( Tiludronate ), Didronel ( Etidronate ) ๒. ชนิดฉีด Aredia ( Pamidronate ), Zometa ( zoledronic acid ), Bonefos ( clodronate ) เมื่อเริ่มมีรายงานการตายของกระดูกขากรรไกรจากบิสฟอสโฟเนตในช่วงแรก (Marx 2003: 1115-7), (Ruggiero et al. 2004: 1238-9), (Migliorati 2003: 4253-4), (Carter and Goss 2003: 268), (Carter et al. 2005: 413-5) ได้มีการกล่าวถึงอาการของผู้ป่วยว่าคล้ายอาการที่ตรวจพบในการตาย ของกระดูกขากรรไกรจากฟอสฟอรัส ที่เรียกว่า phossy jaw ซึ่งพบเมื่อกลางศตวรรษที่ ๑๙ โดยมี รายงานว่าเกิดแก่คนงานท� ำไม้ขีดไฟ คนงานเหล่านี้อายุน้อย สุขภาพแข็งแรง (Hamilton and Hardy 1949: 138-44) เริ่มจากเหงือกบวมแดงบริเวณใกล้กับฟันที่มีรอยผุ มีการปวด ท� ำให้เข้าใจผิดว่าปวดฟัน เมื่อถอนฟันออกจะหายปวดในระยะแรก แต่แผลถอนฟันไม่หาย จากนั้นกระดูกตายโผล่ในปาก ปวดรุนแรง บางรายเสียชีวิตจากการติดเชื้อ เพราะเป็นยุคก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ (Hughes et al. 1962: 83), (Miles 1972: 203-6) หลังจากนั้นก็มีรายงานสาเหตุการเกิด phossy jaw (Hellstien and Marek 2005: 682-9) ว่าบิสฟอสโฟเนตท� ำให้ osteoclast ท� ำหน้าที่ลดลง ร่วมกับการมีโรคปริทันต์ รอยโรค ปลายรากฟัน การผ่าตัดในช่องปากที่เป็นผลให้กระดูกโผล่ การกระทบกระแทกต่อเหงือกเหนือกระดูก เช่น internal oblique ridge , ปุ่มกระดูก ( torus ), ฟันปลอมหลวม หรือคับจะยิ่งท� ำให้สถานการณ์เลวลง ประกอบกับการมีแบคทีเรียเป็นปัจจัยร่วม ( bacterial cofactor ) จึงเกิดการอักเสบแบบ osteomyelitis และมีกระดูกตาย (การตายเนื่องจาก osteoradionecrosis ไม่มี bacterial cofactor ) และเรียกการตาย ของกระดูกขากรรไกรจากบิสฟอสโฟเนตว่า bisphosphonate osteochemonecrosis of the jaws จากนั้นก็มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น bisphosphonate avascular necrosis of the jaw , bisphosphonate osteomyelitis of the jaws , bisphosphonate osteonecrosis of the jaw ( BONJ ), bisphosphonate induced osteonecrosis of the jaws ( BIOJ ) และ bisphosphonate related - osteonecrosis of the jaws ( BRONJ ) ซึ่งใช้ในบทความนี้ ข้อพิจารณาในการวินิจฉัยว่าเป็น BRONJ (Marx et al. 2005: 1567-75) ๑. มีแผลในปากหรือกระดูกโผล่นานกว่า ๓ เดือน (Ruggiero et al. 2004: 1238-9), (Marx et al. 2005: 1567-75), (Marx et al. 2007: 2397), (Woo et al. 2006: 753-76), (Tong et al. 2010: 145-148) หลังการถอนฟัน หรือผ่าตัดในปากหรือใส่รากเทียม (Ruggiero et al. 2009: 2-12) มีเป็นส่วนน้อยที่เกิด แผลขึ้นเอง ( spontaneous ) ท� ำให้ปวด เหงือกอักเสบหรือบวมฟันโยก หรือมีรูเปิดหนอง กระดูกขากรรไกร โผล่ ชา หรือการรับรู้บริเวณนั้นผิดไป ( dysesthesia ) บางรายมีเพียงกระดูกโผล่โดยไม่มีอาการอื่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=