สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
3 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, แทนตา จั นทร์วุ่น, เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ บริเวณที่ไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ยังมีระบบรากของพืชที่ยึดเกาะอยู่ในชั้นนี้ปลดปล่อยออกซิเจนที่ ดูดซับจากปากใบได้บางส่วน ค. บริเวณที่ไร้ออกซิเจน (Sticky anaerobic zone) เป็นบริเวณที่อยู่ชั้นสุดท้ายหรือล่างสุดของ ชั้นกรอง บริเวณนี้จะอยู่ในสภาพไร้อากาศ จุลินทรีย์ ที่อยู่ในบริเวณนี้จะเป็นพวกที่ไม่ต้องการอากาศหรือ ออกซิเจน (anaerobe) ๒. จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ในระบบบ� ำบัดน�้ ำเสียแบบบึงประดิษฐ์มีหลากหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย รา สาหร่าย และโพรโทซัว กลุ่มที่มีความส� ำคัญหลักคือ แบคทีเรีย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ ๒ กลุ่ม ตามที่อยู่ คือ แบคทีเรียชนิดแขวนลอยและแบคทีเรียชนิดเกาะติด แบคทีเรียดังกล่าวจะใช้สารปน เปื้อนในน�้ ำเสียเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงาน ๒.๑ แบคทีเรียชนิดแขวนลอย คือแบคทีเรียที่เจริญเติบโตและอาศัยอยู่บริเวณผิวน�้ ำของระบบ บึงประดิษฐ์ เป็นแบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจนในการด� ำรงชีพ ๒.๒ แบคทีเรียชนิดเกาะติด คือแบคทีเรียที่เจริญเติบโตและอาศัยอยู่ในส่วนที่จมอยู่ในน�้ ำ ของพืช (ราก, ล� ำต้น) ในดิน ทราย หรือเกาะบนตัวกลางโดยตรงส� ำหรับบึงประดิษฐ์แบบน�้ ำไหลใต้ผิวดิน นอกจากนี้จุลินทรีย์ต่าง ๆ ยังสะสมอยู่ในชั้นตะกอนบริเวณด้านล่างของระบบบึงประดิษฐ์ด้วย โดยทั่วไป จุลินทรีย์เหล่านี้จะใช้สารมลพิษที่ปนเปื้อนในน�้ ำเสีย โดยเฉพาะสารอินทรีย์เป็นแหล่งอาหารและแหล่ง พลังงานส� ำหรับการด� ำรงชีพ หากบึงประดิษฐ์มีการจัดภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมส� ำหรับการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์เหล่านี้ จะช่วยให้บึงมีประสิทธิภาพการก� ำจัดสารมลพิษในน�้ ำเสียได้ดีขึ้น รูปที่ ๑ ชั้นกรองของระบบบึงประดิษฐ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=