สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

87 ครรชิ ต มาลั ยวงศ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ แล้ว ทีมงานก็พร้อมจะพัฒนานโยบายขึ้น นโยบายที่จะต้องเขียนขึ้นส� ำหรับใช้ในมหาวิทยาลัยนั้นมีมาก ด้วยกัน ตัวอย่างของนโยบายที่ควรพิจารณาจัดท� ำขึ้นบางส่วนก็คือ ๑) นโยบายการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ ๒) นโยบายการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ๓) นโยบายการใช้ระบบอินทราเน็ต ๔) นโยบายการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ๕) นโยบายการจัดเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ ๖) นโยบายการส� ำรองระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูล ๗) นโยบายการตรวจสอบระบบสารสนเทศ ๔. ทบทวนและอนุมัตินโยบาย เมื่อจัดท� ำนโยบายแล้ว ทีมงานควรพิจารณาทบทวนว่านโยบาย นั้นจะประกาศใช้ได้หรือไม่ วิธีการทบทวนก็คือการตั้งค� ำถามขึ้นเพื่อพิจารณานโยบายที่จัดท� ำขึ้นดังต่อไปนี้ (ดัดแปลงจาก Scott 2014) ๑) นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์อะไร? ขั้นตอนการปฏิบัติที่ก� ำหนดขึ้นนั้นจะท� ำให้หน่วยงาน ที่ปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายได้หรือไม่? เมื่อปฏิบัติแล้วจะท� ำให้เกิดคุณค่าเพิ่มแก่หน่วยงาน หรือไม่? ๒) นโยบายที่ก� ำหนดนั้นขัดแย้งกับหลักธรรมาภิบาลหรือไม่? ๓) นโยบายนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือไม่? ๔) นโยบายนั้นก� ำหนดขึ้นตามข้อก� ำหนด ระเบียบ หรือ กฎหมายใด ๆ บ้าง หรือเป็นเพียง การก� ำหนดเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีเท่านั้น? ๕) นโยบายนี้จ� ำเป็นหรือไม่? การน� ำนโยบายมาจัดท� ำเป็นเพียงค� ำแนะน� ำจะเพียงพอ หรือไม่? ๖) นโยบายนี้ก� ำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใดปฏิบัติ? การก� ำหนดนี้เหมาะสมหรือไม่? ๗) ขั้นตอนที่ก� ำหนดขึ้นนั้นผู้ใช้สามารถปฏิบัติได้หรือไม่? ถ้าจ� ำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยใน การปฏิบัติ หน่วยงานได้จัดหาหรือเตรียมการที่จะจัดหาเครื่องมือมาใช้หรือไม่? ๘) หน่วยงานจะสามารถวัดผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามนโยบายนี้ได้หรือไม่? ๙) หน่วยงานจะสามารถตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายนี้จริงหรือไม่ได้อย่างไร? เมื่อได้ทบทวนตรวจสอบว่านโยบายที่จัดท� ำขึ้นนั้นเหมาะสมดี คือ สามารถตอบค� ำถามต่าง ๆ ข้างต้นได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือทีมงานเสนอนโยบายที่จัดท� ำขึ้นนั้นให้แก่ผู้บริหารที่รับผิดชอบโครงการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=