สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เรื่อง “พิมายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลักฐานด้านจารึก” ของรองศาสตราจารย์จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา บทความด้านทัศนศิลป์มี ๒ เรื่อง คือ “งานศิลป์แห่งเมียนมา” ของอาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ และ “จิตรกรรมภาพเทวดาที่ปรากฏในการสร้างพระเมรุมาศหรือการสร้างพระเมรุ” ของอาจารย์สนั่น รัตนะ ซึ่งผู้เขียนสืบค้นจากหลักฐานต่าง ๆ สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัชกาล ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทความด้านสถาปัตยกรรมมี ๒ เรื่องเช่นกัน คือ “การใช้สีภายนอกอาคาร” ของศาสตราจารย์ไสว มงคลเกษม และ “รูปแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า” ของอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ผู้สนใจเรื่องการบรรเลงเพลงไทยเดิมด้วยเครื่องดนตรีสากลที่มีเส้นทางยาวไกลจาก รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน ต้องอ่านบทความเรื่อง “เส้นทาง นับศตวรรษของบทประพันธ์เพลง : เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ของศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ส่วนผู้สนใจพิณ “ไร้สายแต่มีเสียง” ต้องอ่านบทความเรื่อง “การบรรเลงพิณไร้สาย” ของอาจารย์ชนก สาคริก บทความด้านวรรณกรรมมี ๒ เรื่อง เป็นเรื่องราวของวรรณกรรมต่างชาติ ทั้ง ๒ บทความ บทความเรื่อง “วรรณกรรมฉบับ : ค� ำสอนชาย” ของรองศาสตราจารย์ประยูร ทรงศิลป์ เป็นวรรณกรรมค� ำสอนของเขมร ซึ่งน่าสนใจว่าให้ความส� ำคัญกับการสอนผู้ชายให้มีวัตรปฏิบัติ ที่เหมาะสมแก่การเป็นพ่อเรือนด้วย ส่วนบทความเรื่อง “สัตว์ประหลาดและอมนุษย์ในต� ำนานและ วรรณกรรมตะวันตก” ของรองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหมทัตตเวที จะท� ำให้ผู้อ่านอัศจรรย์ใจใน จินตนาการของมนุษย์ และเป็นพื้นฐานในการอ่านวรรณกรรมและชมภาพยนตร์ร่วมสมัยหลาย เรื่องได้เข้าใจและมีอรรถรสยิ่งขึ้น วารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับนี้มีบทความทางภาษาไทยเพียง เรื่องเดียว คือ “ค� ำเกี่ยวกับการวัดในภาษาไทย-ไท” ของรองศาสตราจารย์ ดร.นววรรณ พันธุเมธา ซึ่งนอกจากให้ความรู้เรื่องที่มาของค� ำซึ่งสืบค้นไปถึงภาษาตระกูลไทหลายภาษาแล้ว ยังให้ความรู้ ถึงความเปลี่ยนแปลงของภาษากับสังคมเพราะหลายค� ำเป็นค� ำที่เลิกใช้ และคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักแล้ว ขอขอบพระคุณท่านราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกทั้ง ๓ ส� ำนัก ที่อนุญาตให้น� ำบทความ ของท่านมาเผยแพร่ และหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และสาระจากบทความต่าง ๆ ในวารสาร ราชบัณฑิตยสถานฉบับนี้ ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ประธานคณะบรรณาธิการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=